ต้นทุนดอกเบี้ยพุ่ง-หมดสิทธิทางภาษี กดราคา DIF ร่วง ไทยพาณิชย์มั่นใจผลงานปี 67 ฟื้น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ต้นทุนดอกเบี้ยพุ่ง-หมดสิทธิทางภาษี กดราคา DIF ร่วง ไทยพาณิชย์มั่นใจผลงานปี 67 ฟื้น

Date Time: 26 ธ.ค. 2566 13:55 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Latest


อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยกดดันในโลกการลงทุนอย่างหนัก โดยในภาวะดอกเบี้ยที่สูงเวลานี้ ทำให้กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Reit) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือ (infrastructure) ที่หลายกองทุนรวมมีโครงสร้างลงทุนที่ต้องกู้ยืมเงิน ต้องเผชิยกับต้นทุนดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นด้วย โดยหนึ่งในกองทุนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวคือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF กองทุนอินฟราฟันด์ยอดนิยมของกองทุนไทย 


โดยราคาหน่วยในปี 2567 ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง -43 % ในปีนี้ โดยผู้บริหารจัดกองทุน มองว่า ที่ผ่านมา DIF ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น และการหมดสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน ทำให้มีแรงขายออกมา ทั้งนี้หากในปี 2567 ดอกเบี้ยมีทิศทางที่ลดลงจะช่วยให้ผลงานฟื้นตัว 

ทิพาพรรณ ภัทรวิกรม Executive Director, กลุ่มการลงทุนอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBAM ในฐานะ ผู้จัดการกองทุน DIF เปิดเผยกับ ThairathMoney ว่า แนวโน้มผลการดำเนินงาน ของ DIF ในช่วงปี 2567 จะมีทิศทางที่ขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจหยุดการปรับขึ้น ดอกเบี้ยในปีหน้า จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่กดดันลดลง


“ที่ผ่านมา DIF ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนด้านดอกเบี้ยปรับตัวสูง และเป็นแรงกดันกับกำไรของ DIF มาโดยตลอด”


โครงสร้างทางการเงินของ DIF นั้น มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท และมีการกู้เงินอยู่ที่ 2.7 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ด้วย อัตราดอกเบี้ยในช่วงปี 2566 ที่ปรับเพิ่มขึ้น 1.5-1.8% ส่งผลต่อต้นทุนการจ่ายดอกเบี้ยของกองทุนเพิ่มขึ้น โดยทุกการปรับเพิ่มของดอกเบี้ย 0.25 % จะส่งผลต่อต้นทุนการจ่ายดอกเบี้ยของกองทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบาท ทำให้ในปีนี้ทาง DIF มีต้นทุนการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 300 ล้านบาท  

ทิศทางของดอกเบี้ยโลกเริ่มมีแนวโน้มว่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในปี 2567 ทั้งสิ้น 3 ครั้ง หากมีการปรับลดดอกเบี้ยจริงจะส่งผลบวกต่อ DIF ให้ฟื้นตัวได้ทันที 

ในด้านของราคาหน่วยลงทุน DIF ที่ปรับตัวลดลงน่าจะเกิดจาก หลายปัจจัย ทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเข้ามากระทบกับการจ่ายผลตอบแทนของกองทุน DIF รวมถึงการหมดอายุการได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษีเงินปันผลของกองทุน ทำให้นักลงทุนบางรายมีการขายหน่วยออกมา 

 

ทรูจ่ายค่าเช่าตรงทุกงวด


ขณะที่ผลการดำเนินงานของกองทุนยังแข็งแกร่งโดย DIF มีสัญญาการเช่าสินทรัพย์จากกลุ่มทรู โดยในสัญญาเช่าเสาโทรคมนาคม ถึงปี 2576 และสัญญาเช่าโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ถึงปี 2586 โดยที่ผ่านมากลุ่มทรูมีการจ่ายค่าเช่าตรงเวลาทุกงวด โดยกลุ่ม ทรูยังยืนยันว่าจะเช่าจนตลอดอายุสัญญา ส่วนปัจจัยเรื่องการควบรวมกันระหว่าง ทรู กับ ดีแทค นั้นไม่ได้มีผลกระทบกับกองทุนแต่อย่างใด 

สำหรับภาพในระยะยาวมองว่าความต้องการในการใช้โครงสร้างเสาโทรคมนาคมในอนาคตจะยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเทคโนโลยี 5G หรือ 6G ในอนาคต ยังการเสาสื่อสารเพื่อแขวนอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยรักษารายได้ให้กับกองทุนในระยะยาว 

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ