ตรวจเข้มข้น Naked Short Selling ตลาดหุ้นดึงผู้แทนแนสแด็ก-เกาหลี

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ตรวจเข้มข้น Naked Short Selling ตลาดหุ้นดึงผู้แทนแนสแด็ก-เกาหลี

Date Time: 22 พ.ย. 2566 05:17 น.

Summary

  • เมื่อวันที่ 21 พ.ย.66 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดแถลงข่าวด่วน เรื่อง “แนวทางการยกระดับการกำกับดูแลเพิ่มเติม” โดย นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์ฯ

Latest

ตลท. เกาะติดคดี “หมอบุญ” ชี้ขายใบหุ้นนอกตลาด ไม่เกี่ยว THG เตือน อะไรที่ดีเกินไป มักไม่จริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ย.66 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดแถลงข่าวด่วน เรื่อง “แนวทางการยกระดับการกำกับดูแลเพิ่มเติม” โดย นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวทางการยกระดับการกำกับดูแลเพิ่มเติม ในส่วนของการกำกับดูแลการซื้อขายโปรแกรมเทรดและ การทำธุรกรรม Naked Short Selling (การขายหุ้นโดยที่ไม่มีหุ้นอยู่จริง และไม่ได้ทำการยืมหุ้นมาขาย ถือว่าผิดกฎหมาย ทำไม่ได้ในตลาดหุ้นไทย) โดยตลาดหลักทรัพย์เตรียมตั้งคณะทำงานพิเศษ เพื่อเข้ามาช่วยดูแลและให้คำแนะนำข้อเสนอแนะในการตรวจสอบการซื้อขายโปรแกรมเทรด และ Naked Short Selling ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก (NASDAQ) และตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ (KRX)

ส่วนกรณีการตรวจสอบธุรกรรมชอร์ตเซลปกตินั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯได้เพิ่มหลักเกณฑ์ให้โบรกเกอร์ส่งข้อมูลหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ทำธุรกรรมชอร์ตเซลภายใน 15 วัน ว่า ก่อนที่ลูกค้าจะทำชอร์ตเซล เพื่อให้รู้ว่าลูกค้ามีหลักทรัพย์ (หุ้น) ในครอบครองก่อนที่จะขายชอร์ตหรือไม่ หากโบรกเกอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลหลักฐานมาให้ได้ภายใน 15 วัน จะสันนิษฐานว่า ลูกค้าไม่มีหุ้นในครอบครอง (Naked Short) ก็จะส่งต่อให้คณะกรรมการวินัยดำเนินการลงโทษ โดยการลงโทษมีตั้งแต่ตักเตือน ปรับ ภาคทัณฑ์ ระงับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะมีการพิจารณาเรื่องความเท่าเทียมของการซื้อขายด้วยโปรแกรมเทรดกับผู้ลงทุนที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมเทรดด้วย

ทั้งนี้ ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ดำเนินการไปแล้ว เรื่องการกำกับดูแลธุรกรรมชอร์ตเซล คือ ส่งหนังสือเวียนไปกำชับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่เป็นสมาชิก และไม่ใช่สมาชิก รวมถึงบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นคัสโตเดียน ให้ช่วยกันตรวจสอบว่าก่อนที่ลูกค้าจะมีการส่งคำสั่งซื้อขายนั้นลูกค้ามีหุ้นอยู่ในครอบครองก่อนส่งคำสั่งซื้อขายหรือไม่ รวมถึงประสานขอให้ ก.ล.ต. ช่วยตรวจสอบบัญชีซื้อขายประเภท Omnibus (ออมนิบัส) คือ บัญชีซื้อขายที่มีมากกว่า 1 คน ซึ่งปกติเป็นนักลงทุนต่างประเทศ และมีคัสโตเดียนต่างประเทศเป็นผู้เก็บรักษาหุ้น

“ตลาดได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาเกณฑ์การทำชอร์ตเซลว่าจะเปลี่ยนเกณฑ์กำหนดราคาการทำชอร์ตเซล (Price Rule) หรือไม่ แต่เมื่อได้พิจารณาแล้วยังไม่ได้เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญที่จะต้องปรับเกณฑ์”.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ