เบียร์คาราบาว ดีเกินคาด ดันกำไรหุ้น CBG พุ่ง หวังดันมาร์เก็ตแชร์ทะลุ 10%

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เบียร์คาราบาว ดีเกินคาด ดันกำไรหุ้น CBG พุ่ง หวังดันมาร์เก็ตแชร์ทะลุ 10%

Date Time: 20 พ.ย. 2566 10:47 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Latest


ตลาดเบียร์ เกินแรงกระเพื่อมอย่างมาก เมื่อกลุ่มคาราบาว เปิดตัวเบียร์คาราบาวตัวใหม่ พร้อมท้าชนผู้เล่นรายใหญ่ 2 รายในปัจจุบัน โดยล่าสุดในเดือน พ.ย. ที่เป็นเดือนแรกของการเปิดตัว ได้รับการตอบรับดีเกินคาด ส่งผลสำคัญต่อผลการดำเนินงานของ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ปรับตัวดีขึ้นด้วย โดย CBG นั้นมีบทบาทสำคัญในแง่ของการเป็นผู้ผลิตขวด และการเป็นผู้จัดจำหน่าย 

โดย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ เปิดเผยว่า บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 530 ล้านบาท ขยายตัวได้ 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาสก่อน แม้ยอดขายทรงตัวที่ 4,707 ล้านบาท แต่ได้การบริหารค่าใช้จ่ายที่ดีช่วย 

1. ยอดขายแบรนด์ตนเอง (59% ของยอดขายรวม) หดตัว 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง 7% จากไตรมาสก่อน แม้ตลาดในประเทศ ยังเติบโต แต่ตลาดส่งออกกลับหดตัวลง 28% จากปีก่อน และลดลง 23% จากไตรมาสก่อน ที่ตลาด CLMV และจีน 

2. ธุรกิจจัดจำหน่ายให้กับบุคคลภายนอก (Cash Van) (31% ของยอดขายรวม) โตดีเพิ่มขึ้น 22% จากปีก่อน 

3. ธุรกิจว่าจ้างภายข้างนอกผลิต (1% ของรายได้รวม) หดตัว 53% จากปีก่อน

4. รายได้อื่นๆ (9% ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากเริ่มรับจ้างผลิตขวดให้ธุรกิจใหม่เบียร์ อัตรากำไรขั้นต้นลดลง 2% จากปีก่อน เหลือ 27% แม้ธุรกิจหลักจะได้ผลบวกจากราคาวัตถุดิบลดลง แต่สัดส่วนการขายในกลุ่ม margin ต่ำอย่าง cash van และอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นเลยกดดันอัตรากำไรรวมให้ลดลง แต่ด้วยบริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายเข้มงวดเลยทำให้กำไรยังเติบโตได้ 

ธุรกิจใหม่เริ่ม พ.ย. ผลตอบรับดีเกินคาด เสถียร เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CBG เผย กลุ่มได้ลงทุนในธุรกิจเบียร์ซึ่งมีมูลค่าตลาด 2.6 แสนล้านบาท (หรือ 2,200 ล้านลิตรต่อปี) ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นรายใหญ่ 2 รายกินส่วนแบ่งตลาด มากกว่า 90% โดยก้าวแรก ผู้บริหารตั้งเป้ายอดขาย 200 ล้านลิตรต่อปี โดยจะอาศัยช่องทางการขายของ CBG ในการกระจายสินค้าและใช้ร้านค้าปลีกของกลุ่ม คือ CJ และถูกและดีร่วมจำหน่าย โดยช่วงเริ่มต้น ผลตอบรับค่อนข้างดี 

ผู้บริหารตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 10% ในอนาคตและตลาด CLMV จะเป็นแผนในระยะถัดไป CBG จะได้อะไร จากธุรกิจเบียร์ของกลุ่ม 1) รายได้จากการผลิตขวดแก้ว และกระป๋อง 2) ค่าจัดจำหน่ายตามช่องทางการกระจายสินค้า 3) กลุ่มจะช่วยแชร์ค่าใช้จ่ายสปอนเซอร์ฟุตบอล 50% ที่จำนวน 6 ล้านปอนด์

ทั้งนี้ แนวโน้มช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทคาดแนวโน้ม การดำเนินงานช่วงที่เหลือของปีจะดีขึ้น จากไตามาสก่อน 1) แบรนด์ตนเองคาดจะดีขึ้นตลาดในประเทศดีจาก ส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นจากการยังคงตรึงราคาไว้ที่ ขวดละ 10 บาท ขณะที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะกัมพูชา คาดกำลังซื้อดีขึ้น ส่วนพม่าจากปัญหาการ นำเข้าทำให้บริษัทตัดสินใจไปร่วมทุนกับบริษัทในพม่าแทน ซึ่งคาดจะเริ่มผลิตไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า 

โดยบริษัทจะเป็นผู้ส่งออกกระป๋องและหัวเชื้อไปจำหน่ายให้ส่วนเวียดนาม คาดจะดีต่อเนื่องหลังมีการเปลี่ยนตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ 2) จัดจำหน่าย (Cash Van) คาดได้ส่วนเพิ่มจากการจัดจำหน่ายให้กับเบียร์คาราบาว 3) ว่าจ้างข้างนอกผลิตคาดจะเริ่มกลับมาจำหน่าย กาแฟ RTD หลังจากหยุดขายไปก่อนหน้า 4) อื่นๆ ก็จะมีรายได้เพิ่มจากการผลิตกระป๋องและขวด เพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจเบียร์ของกลุ่มแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นคาดจะดีขึ้นหลังราคาอะลูมิเนียม ปรับลดลง

ขณะที่น้ำตาลซื้อทั้งโควตาในประเทศ และโควตาส่งออกจึงคาดปีนี้คงไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่ปีหน้าอาจกระทบจากการปรับขึ้นราคา ผู้บริหารแจ้งว่าน้ำตาลคิดเป็น 6% ของต้นทุนการผลิตรวม แต่หากเฉพาะแบรนด์ตนเอง 12% ซึ่งราคาน้ำตาลที่ปรับขึ้นคาดจะกระทบกับอัตรากำไรขั้นต้นไม่ถึง 1% และคาดยังคงควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง

บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า เริ่มธุรกิจเบียร์โดยได้รับการตอบรับดี ประธานของ CBG เล่าถึงแผนเจาะตลาดเบียร์ (ดำเนินการโดยธุรกิจครอบครัว) ซึ่งเริ่มเปิดขายเชิงพาณิชย์ ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยบริษัทใช้งบลงทุน (capex) ประมาณ 4 พันล้านบาทเพื่อผลิตเบียร์ด้วย กำลังการผลิต 200-300 ล้านลิตรต่อปี โดยใช้แบรนด์ “คาราบาว” และ “ตะวันแดง” มีทั้งหมด 5 รสชาติ ครอบคลุมทั้งกลุ่มราคาประหยัด และกลุ่มพรีเมียมซึ่งจัดจำหน่ายผ่านตัวแทน 790 ราย, รถจำหน่าย (cash van) และเชนร้านสะดวกซื้อ “CJ & ถูกดี” 6,000 ร้าน 


ทั้งนี้ ยอดการผลิต 200 ล้านลิตรจะทำให้บริษัทได้ ส่วนแบ่งตลาดประมาณ 8-9% ทั้งนี้ผู้บริหารเผยว่าการที่เบียร์คาราบาวได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าที่ คุ้นเคยกับโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงอยู่แล้ว ได้มีส่วนช่วยให้บริษัทเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งหลังจากที่เปิดตัวเป็นครั้งแรก เบียร์คาราบาวได้รับการตอบรับดี สำหรับในระยะต่อไป เบียร์คาราบาวจะไม่ได้ขายแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะส่งออกไปยังประเทศในกลุ่ม CLMV ด้วย CBG ได้รายได้ OEM และรายได้จากการจัดจำหน่าย CBG จะได้อานิสงส์ทางอ้อมจากเบียร์คาราบาว 


ได้แก่ 1) มีรายได้ OEM จากการผลิตบรรจุภัณฑ์ กระป๋องอะลูมิเนียม ขวดแก้ว ฉลาก ลังกระดาษ ฯลฯ 2) รายได้จากการจัดจำหน่าย ในรูปของส่วนแบ่ง รายได้ 5% โดยในไตรมาสที่ 3 CBG บันทึกรายได้จากการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับเบียร์คาราบาวประมาณ 150-160 ล้านบาท ซึ่งหากเบียร์คาราบาวทำยอดขายได้ตามเป้า 200 ล้านลิตรต่อปี จะสร้างรายได้จากบรรจุ ภัณฑ์ให้ CBG ประมาณ 350-360 ล้านบาทในปีนี้ และ 800-900 ล้านบาทในปี 2567 ซึ่งสูงกว่าประมาณ การของเราที่ 225 ล้านบาท/450 ล้านบาท ในปี 2566-2567 ปัจจัยบวกบวกหนุนราคาหุ้นอัพไซด์ จากการที่บริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มประมาณ 200-250 ล้านบาทจากการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับเบียร์คาราบาวในไตรมาสที่ 4 และคาดว่า margin จะเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่ลดลง เราจึงคาดว่าผลประกอบการน่าจะฟื้น ตัวได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ในขณะเดียวกัน สัญญาณว่ารายได้จากเบียร์คาราบาวที่เพิ่มขึ้นจะหนุนให้ ประมาณการกำไรปี 2567 ของเรามี upside เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากปัจจัยกระตุ้นในระยะสั้นน่าจะทำให้ราคา หุ้นมีอัพไซด์สูงกว่าราคาเป้าหมายปี 2567F ของเราที่ 85 บาท (PE 35x)


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์