ปตท. หรือ หุ้น PTT โชว์กำไร 3.1 หมื่นล้าน โตทะลุ 100% รับกำไรสต๊อกน้ำมัน-ค่าการกลั่นพุ่ง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ปตท. หรือ หุ้น PTT โชว์กำไร 3.1 หมื่นล้าน โตทะลุ 100% รับกำไรสต๊อกน้ำมัน-ค่าการกลั่นพุ่ง

Date Time: 13 พ.ย. 2566 18:14 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น PTT ประกาศกําไรสุทธิในไตรมาส 3/66 จํานวน 31,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,422 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 จากกําไรสุทธิ จํานวน 8,875 ล้านบาท ในไตรมาส 3/65 ตามกําไรจากการดําเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) ที่เพิ่มขึ้น

Latest


บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น PTT รายงานผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ปตท. และบริษัทย่อย มีกําไรสุทธิในไตรมาส 3/66 จํานวน 31,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,422 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 จากกําไรสุทธิ จํานวน 8,875 ล้านบาท ในไตรมาส 3/65 และเพิ่มขึ้น 11,190 ล้านบาท หรือร้อยละ 55.7 จากกําไรสุทธิจํานวน 20,107 ล้านบาท ในไตรมาส 2/66 ตามกําไรจากการดําเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง


นอกจากนี้ ในไตรมาส 3/66 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจํา (Non-recurring Items) สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 40 ล้านบาท โดยหลักจากรายการด้อยค่าสินทรัพย์ของ บริษัท ปตท. โกลบอล แมนเนจเม้นท์ จํากัด (PTTGM) สุทธิกับการรับรู้ส่วนลดจากปริมาณก๊าซฯ ที่ผู้ผลิตส่งได้ไม่ถึงปริมาณตามสัญญา (Shortfall) ของ ปตท. ขณะที่ในไตรมาส 3/65 มีการรับรู้ขาดทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยหลักจากรายการด้อยค่าสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายจากโครงการในประเทศบราซิลของ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) (PTTEP) และการจ่ายเงินสนับสนุนเข้ากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงในสถานการณ์วิกฤติ สุทธิกับการรับรู้ส่วนลด Shortfall ของ ปตท.


ในไตรมาส 3/66 EBITDA มีจํานวน 146,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 53,400 ล้านบาท หรือร้อยละ 57.7 จากในไตรมาส 2/66 ที่จํานวน 92,625 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น สําหรับธุรกิจการกลั่น มีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้น ตามค่าการกลั่นตามราคาตลาด (Market GRM) เพิ่มขึ้นจาก 4.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาส 2/66 เป็น 11.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาส 3/66 โดยหลักจากส่วนต่างราคาน้ํามันดีเซล และน้ํามันอากาศยาน กับน้ํามันดิบปรับเพิ่มขึ้น


รวมทั้งมีกําไรจากสต๊อกน้ํามันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่ม ปตท. มีผลกําไรจากสต๊อกน้ํามันในไตรมาส 3/66 ประมาณ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2/66 เป็นขาดทุน ประมาณ 4,000 ล้านบาท


นอกจากนี้ ผลการดําเนินงานของธุรกิจปิโตรเคมีปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยหลักจากกลุ่มโอเลฟินส์ตามปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น ผลการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมปรับเพิ่มขึ้น จากทั้งราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานมีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้น โดยหลักจาก บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) (GPSC) ที่กําไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) จากปริมาณขายไฟฟ้าและไอน้ํารวมเพิ่มขึ้น และต้นทุนพลังงานลดลง


อีกทั้งกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ มีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจ NGV มีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้น จากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่ปรับลดลงตามราคา Pool Gas และราคาขายที่ปรับเพิ่มขึ้นสําหรับทุกกลุ่มลูกค้า และธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ มีกําไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น


ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 ปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA จํานวน 342,658 ล้านบาท ลดลงจํานวน 73,311 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ที่จํานวน 415,969 ล้านบาท โดยหลักจาก กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น สําหรับธุรกิจการกลั่นมีผลการดําเนินงานลดลงตาม Market GRM ที่ลดลงจาก 11.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใน 9 เดือนแรกของปี 2565 เป็น 7.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใน 9 เดือนแรกของปี 2566 จากส่วนต่างราคาน้ํามันดีเซล น้ํามันอากาศยาน และน้ํามันเบนซิน กับน้ํามันดิบปรับลดลง แม้ว่า Crude Premium ปรับลดลง


นอกจากนี้ กําไรสุทธิของ ปตท. และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีจํานวน 79,259 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,749 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกําไรสุทธิ จํานวน 72,510 ล้านบาท โดยหลักจากขาดทุนตราสารอนุพันธ์ลดลง รวมถึงกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น แม้ว่า EBITDA ลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีการรับรู้รายการ Non-recurring Items สุทธิภาษี ตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 100 ล้านบาท โดยหลักจากรายการตัดจําหน่ายสินทรัพย์จากการสิ้นสุดสัมปทาน โครงการบงกชของ PTTEP สุทธิกับการรับรู้ส่วนลด Shortfall ของ ปตท.


ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มีการรับรู้รายการ Non-recurring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นผลขาดทุนประมาณ 2,600 ล้านบาท โดยหลักจากรายการด้อยค่าสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายจากโครงการในประเทศบราซิลของ PTTEP และค่าใช้จ่ายทางภาษีจากการจําหน่ายเงินลงทุนใน GPSC ของ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) (TOP) สุทธิกับการรับรู้ส่วนลด Shortfall ของ ปตท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์