บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกําไรจากการดําเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 7,719 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3,799 ล้านบาท โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 37,008 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 4,148 ล้านบาท (12.6%)
สาเหตุหลักจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 6,458 ล้านบาท (26.4%) โดยบริษัทฯ ได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยอดนิยม นอกจากนี้บริษัทฯ มีรายได้จากกิจการอื่นเพิ่มขึ้น 232 ล้านบาท (12.5%) ซึ่งหน่วยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากจํานวนผู้โดยสารของสายการบินลูกค้าเพิ่มขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 29,289 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 349 ล้านบาท (1.2%) ส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณการผลิต และ/หรือ ปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายคงที่เพิ่มขึ้น และสําหรับต้นทุนทางการเงิน (ซึ่งเป็นการรับรู้ ต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 : TFRS 9) มีการรับรู้ต้นทุนทางการเงินจํานวน 3,722 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 50 ล้านบาท (1.4%)
บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นค่าใช้จ่ายรวม 2,732 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกําไรสุทธิจํานวน 1,546 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,326 ล้านบาท โดยเป็นกําไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 1,538 ล้านบาท คิดเป็นกําไรต่อหุ้น 0.70 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 2.19 บาท โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คํานวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) เป็นกําไรจํานวน 8,360 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,282 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจํานวน 234,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จํานวน 36,112 ล้านบาท (18.2%) หนี้สินรวมมีจํานวน 288,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จํานวน 19,794 ล้านบาท (7.4%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ติดลบจํานวน 54,706 ล้านบาท ติดลบลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จํานวน 16,318 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีเครื่องบินที่ใช้ทําการบินทั้งสิ้น 68 ลํา ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน 12.1 ชั่วโมง มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 21.5% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 22.0% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 77.3% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 77.0% และมีจํานวนผู้โดยสารที่ทําการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 22.0% ส่งผลให้ผลการดําเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว.