เคอรี่ ขาดทุนหนักทะลุ 2.7 พันล้าน ขนส่งแข่งขันรุนแรง “แพลตฟอร์มยักษ์” หันส่งของเอง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เคอรี่ ขาดทุนหนักทะลุ 2.7 พันล้าน ขนส่งแข่งขันรุนแรง “แพลตฟอร์มยักษ์” หันส่งของเอง

Date Time: 7 พ.ย. 2566 10:11 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Latest


หมดยุครุ่งเรืองแล้ว สำหรับธุรกิจขนส่งสินค้า ที่กำลังเข้าสู่โหมดการแข่งขันรุนแรง ทั้งในด้านราคาและบริการของผู้ประกอบการหลายรายกำลังแย่งกันเพื่อสร้างส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายขาดทุนอย่างหนัก 

โดยล่าสุด เคอรี่ เอ็กซ์เพรส เผยว่า 9 เดือนแรก 2,725.1 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น  43% โดยจากการแข่งขันที่รุนแรง และการที่แพลตฟอร์มออนไลน์ หันส่งสินค้าด้วยตัวเองมากขึ้น 


บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งผลการดำเนินงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัทรายได้จากการขายและให้บริการของบริษัทสําหรับงวด 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 8,950.5 ล้านบาท ลดลง 30.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การลดลงของรายได้ได้รับผลกระทบจากปริมาณการจัดส่งพัสดุที่ลดลง โดยเฉพาะปริมาณการจัดส่งพัสดุจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการต่อรองราคาจัดส่งพัสดุอย่างรุนแรงของผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในประเทศไทยที่หันมาพึ่งพาหน่วยงานขนส่งภายในบริษัทของตนเองมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2/2566 ปริมาณการจัดส่งพัสดุสําหรับงวด 9 เดือนของปีนี้อยู่ในระดับ คงที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แม้บริษัทยังเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอันเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรในบางพื้นที่ 

อย่างไรก็ตามความท้าทายดังกล่าวได้ถูกแก้ไขอย่างต่อเนื่องในปี 2566 ผ่านการนําระบบมาปรับใช้จากความช่วยเหลือของผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานตั้งแต่ไตรมาส 2/2566 เป็นต้นมา

บริษัทอยู่ระหว่างการดําเนินกลยุทธ์แบ่งส่วนระดับตลาดโดยมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้ใช้บริการระดับกลาง ถึง สูง หรือผู้ใช้บริการประเภท C-end และผู้ใช้บริการประเภท อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการที่มีศักยภาพทั้งในด้านรายได้ต่อพัสดุ และปริมาณการจัดส่งพัสดุ ร่วมกับการปรับปรุงคุณภาพบริการเพื่อรองรับผู้ใช้บริการในกลุ่มดังกล่าว และเพิ่มรายได้ต่อพัสดุให้สูงขึ้นตามเป้าหมายของบริษัทต้นทุนขายและให้บริการ สําหรับงวด 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 11,110.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เป็นผลต่อเนื่องมาจากการวางแผนบริหารต้นทุนการดําเนินงานทั้งต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร โดยในส่วนของต้นทุนคงที่ บริษัทได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางจัดส่งพัสดุใหม่ และปิดศูนย์กระจายสินค้ารวมถึงร้านค้าของบริษัทที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อลดขั้นตอนการดําเนินงานที่ซ้ำซ้อนในเครือข่ายการจัดส่งพัสดุให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ลดการเช่าพื้นที่ และการเช่ายานพาหนะ ในส่วนของต้นทุนผันแปร บริษัทยังเดินหน้าในการ เพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานของพนักงาน และพนักงานส่งพัสดุ ประกอบกับการนําระบบคัดแยกสินค้าอัตโนมัติมาใช้ทําให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายพนักงานคัดแยกสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกพัสดุมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังได้รับอานิสงส์จากราคาน้ํามันดีเซลที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนของปีนี้

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร สําหรับงวด 9 เดือนของปีนี้ อยู่ที่ 1,268.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุ หลักมาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายพนักงานและค่าใช้จ่ายในการบริหารเป็นหลัก

จากเหตุที่ได้กล่าวข้างต้น บริษัทและบริษัทย่อยรายงาน ผลขาดทุนก่อนภาษีเงินได้ สําหรับงวด 9 เดือน อยู่ที่ 3,383.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และรายงานขาดทุนสุทธิส่วนของผู้เป็นเจ้าของบริษัท สําหรับงวด 9 เดือน อยู่ที่ 2,725.1 ล้าน บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

กล่าวโดยภาพรวม ตลาดการจัดส่งพัสดุด่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ จากการเป็นตลาดที่แข่งขันกันเฉพาะด้านไปสู่ตลาดที่ผู้ให้บริการมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมากขึ้น ใกล้เคียงกับตลาดการจัดส่งพัสดุด่วนในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ

สําหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าเพื่อให้ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งพัสดุด่วนครบวงจร โดยใช้การปรับใช้กลยุทธ์แบ่งส่วนระดับตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างรายได้ต่อพัสดุที่สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ผู้ใช้บริการประเภท C-end องค์กร อุตสาหกรรม บริการส่งพัสดุระหว่างประเทศ และผู้ใช้บริการในตลาดอื่นๆ ได้แก่ บริการจัดส่งผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้าหัตถกรรม ลูกค้าในงานมหกรรม โดย มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการระดับกลาง ถึง สูง และสร้างบริการอันเป็นเลิศเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้บริการ นอกจากนี้สําหรับช่องทางให้บริการผู้ใช้บริการรายย่อย บริษัทได้ขยายสาขาร้านค้าของบริษัท และจุดให้บริการในศูนย์คัดแยกพัสดุ (DCSP) เพื่อรองรับความต้องการจัดส่งพัสดุที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มลูกค้าประเภท C-end โดยแผนการขยายจุดให้บริการของบริษัทได้ผ่าน

การประเมินทั้งมุมมองด้านรายได้และต้นทุนอย่างละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการจัดส่งและความต้องการของผู้ใช้บริการที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้น ในส่วนของการปฏิบัติงานบริษัทยังคงให้ความสําคัญในการยกระดับเครือข่ายและระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน

นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งเน้นการปรับปรุงผลกําไรโดยปรับการดําเนินงาน และกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสม รวมถึงการปรับปรุงให้ บริษัทมี จํานวนต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์ธุรกิจของบริษัทในระยะยาวสอดคล้องกับแนวทางของ เอสเอฟ เอ็กซ์เพรส ที่ดําเนินอยู่ในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ