เดินหน้าแล้วสำหรับมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV 3.5) โดยจะเริ่มใช้มาตรการ 1 มกราคม 2567 ทั้งนี้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ มองว่า มาตรการดังกล่าว ถือว่าเป็นพวกกับผู้ผลิตแบตเตอรี่ภายในประเทศ โดย 4 หุ้นดังจะได้ประโยชน์
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส มองว่า การที่บอร์ดอีวีชุดใหม่ซึ่งมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV 3.5) ในช่วง 4 ปี (2567-70) ต่อเนื่องจากมาตรการเดิม (EV 3.0) ที่จะหมดอายุใน 31 ธ.ค. 2566 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาส ให้เกิดการลงทุนผลิต EV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2567
โดยบอร์ดอีวีเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเติบโตของอุตสาหกรรม EV ในประเทศไทย โดยผู้ประกอบการที่เข้า ร่วมมาตรการ EV3 ยังคงสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการใหม่นี้ เพิ่มเติมได้ แต้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการด้วยเช่นกัน สำหรับรายละเอียดของมาตรการ EV 3.5 มีดังนี้
1. ให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยจะมี การปรับลดวงเงินลงจากเดิม 7 หมื่นบาท-1.5 แสนบาท/คัน มาอยู่ที่ 5 พันบาท-1 แสนบาท/คัน ขึ้นกับประเภทรถ และขนาดแบตเตอรี่ โดย-กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5 หมื่นบาท-1 แสนบาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 2-5 หมื่น บาท/คัน
กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5 หมื่นบาท-1 แสนบาท/คัน
กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 1.5 แสนบาท ที่มีขนาด แบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5 พันบาท-1 หมื่นบาท/คัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการกำหนดอัตราเงินอุดหนุนที่เหมาะสม และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป EV ดัชนีกลุ่ม (จุด) N/A ดัชนีตลาด (จุด) 1,379.96
2. การลดอากรนำเข้าไม่เกิน 40% สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ที่ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปี 2567-68 และลดอัตราภาษี สรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำหรับเงื่อนไขอัตราส่วนของรถยนต์ที่ต้องผลิตในประเทศเพื่อ ชดเชยการนำเข้า จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดในอัตราส่วนการนำเข้า : การผลิต ชดเชยที่ 1 : 1 และ 1 : 1.5 ภายในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ เป็นอัตราส่วน 1 : 2 และ 1 : 3 ภายในปี 2569 และ 2570 ตามลำดับ
พร้อมกำหนดให้แบตเตอรี่ ของรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปที่นำเข้า และผลิตในประเทศไทยจะต้องได้รับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานตาม มาตรฐานสากลจากศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC)
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3.0 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายใน วันที่ 31 ธ.ค. 2566 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 ม.ค. 2567 แต่ยังต้องจำหน่ายภายใน วันที่ 31 ธ.ค. 2566 เพื่อให้ผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Thailand International Motor Expo ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2566
สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในช่วงเวลาดังกล่าว ประเด็นดังกล่าวจึงถือเป็นมุมมองเชิงบวกต่อผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า หรือผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่เกี่ยวเนื่องกับรถ EV ซึ่งคาดจะช่วยให้หุ้นในกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ กลับเข้ามาอยู่ในกระแสได้อีกระลอก จึงอาจหาจังหวะเข้า Trading ช่วงสั้น ตามทิศทางของกระแสข่าวดังกล่าวได้ โดยปัจจุบันผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การประกอบรถ EV และแบตเตอรี่ในประเทศ ได้แก่ EA, NEX, PTT, GPSC เป็นต้น