หุ้นไอพีโอ เกิดวิกฤติ? MCA ปิดเทรดครึ่งวันแรกร่วง -43% บริษัทมั่นใจ ไตรมาส 3 โตแรง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

หุ้นไอพีโอ เกิดวิกฤติ? MCA ปิดเทรดครึ่งวันแรกร่วง -43% บริษัทมั่นใจ ไตรมาส 3 โตแรง

Date Time: 26 ต.ค. 2566 13:56 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Latest


ความเคลื่อนไหวการเข้าทำการซื้อขายครั้งแรกของบริษัท มาร์เก็ต คอนเน็กชั่นส์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ MCA ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ยังคงเจอกับความกดดันอย่างหนัก โดยเปิดการซื้อขายที่ 3.00 บาท ต่ำกว่าราคาจองซื้อที่ 3.30 บาท หรือลดลง 9.90% ก่อนจะเจอแรงขายอย่างหนักหน่วย กดดันให้ปิดการซื้อขายในช่วงเช้าที่ 1.87 บาท หรือลดลงจากราคาจองซื้อ 43.33%

 

ภักดี เหล่างาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาร์เก็ต คอนเน็กชั่นส์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ “MCA” เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2566 นั้น บริษัทคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ผู้ประกอบการกลับมาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาดเช่นเดิม รวมถึงได้ผลประกอบการจากธุรกิจใหม่ Distributor เข้าสนับสนุน ขณะที่ส่วนไตรมาส 4 นั้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดในช่วงการเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมกลับมามีความคึกคัก 

ส่วนเม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุน จำนวน 198 ล้านบาท บริษัทเตรียมนำไปต่อยอดและขยายสเกลงานใหม่เพิ่มเติมจาก 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. บริการจัดกิจกรรมทางการตลาดและดิจิทัล

2. บริการบรรจุและจัดส่งสินค้า

3. บริการพนักงานแนะนำสินค้า

4. บริการจัดเรียงสินค้า และการต่อยอดธุรกิจการให้บริการใหม่ คือ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Distributor) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทุกมิติ ซึ่งตอกย้ำถึงการเป็นผู้นำในการให้บริการจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดในรูปแบบ Marketing Agency ที่ตอบโจทย์ในทุกๆ Solution ในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด และผู้ให้บริการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด แบบ One-stop servic

 

บล.ทิสโก้ ประเมินว่า อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) มีผู้เล่นที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ประกอบกับผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมได้ง่าย ทั้งบริษัทจัดกิจกรรมทางด้านการตลาดโดยตรง บริษัทเอเจนซี่โฆษณา บริษัทสื่อและสิ่งพิมพ์ และบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ (PR) หรือบริษัทลูกค้าอาจมีการจัดกิจกรรมขึ้นเอง ส่งผลให้การแข่งขันภายในอุตสาหกรรมสูง แต่บริษัทมีความแตกต่างจากผู้เล่นอื่นในแง่ของการให้บริการที่ครบวงจร ตั้งแต่วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ไปจนถึงการผลักดันยอดขาย

ซึ่งบริษัทมีจุดแข็งในด้านความเชี่ยวชาญ ความเข้าใจ ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี มีการให้บริการที่ตอบโจทย์ในด้านความต่อเนื่อง และช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า รวมทั้งบริษัทมีความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ แผนขยายธุรกิจไปเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้า โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านกิจกรรมทางการตลาดของบริษัทมาสนับสนุนการดำเนินงานในส่วนนี้ เป็นการต่อยอดธุรกิจที่ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่การประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) ต่อไปด้วย ดังนั้นการระดมทุนในครั้งนี้จึงมีความเหมาะสม

ในระยะสั้น มองว่ารายได้จะฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ ประกอบกับปี 66 เป็นปีที่เปิดประเทศเต็มปี หลังจากธุรกิจจัดกิจกรรมทางการตลาดได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมทางการตลาดได้ นอกจากนี้ ช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 4 ของทุกปี เป็นช่วงที่รายได้เติบโตสูง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล การจัดกิจกรรมทางการตลาดจึงสูงขึ้นตามไปด้วย ในระยะยาว คาดว่าอุปสงค์การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการให้บริการจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดจะเพิ่มขึ้น จากการแข่งขันในสินค้าต่างๆ ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็นฐานลูกค้าหลักของบริษัท (อุตสาหกรรมอาหาร) รวมทั้งกลยุทธ์การขยายการให้บริการ และขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันของบริษัท จะช่วยหนุนให้รายได้เติบโตอย่างสม่ำเสมอในอนาคต

อัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิเริ่มฟื้นตัวจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรายได้จากการบริการจัดกิจกรรมทางด้านการตลาด ที่ฟื้นตัวโดยเติบโตร้อยละ 27.79 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นบริการที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิ 1H66 โตขึ้นร้อยละ 69.57 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น ในระยะสั้นเรามองว่าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจะเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายธุรกิจไปยังผู้จัดจำหน่ายสินค้า ซึ่งต้องมีการลงทุนและใช้เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมดของบริษัท จะช่วยให้สามารถบริหารทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ต้นทุนต่างๆ ลดลงจากการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) และหากธุรกิจให้บริการจัดเรียงสินค้า และธุรกิจผู้จัดจำหน่ายสินค้าเข้าสู่ช่วงการเติบโต อัตรากำไรจะขยายตัวมากขึ้น 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์