จาก ไฟจราจร ถึง ตู้เต่าบิน FEMS บริษัทไทย ที่มี “DNA” สร้างสิ่งที่ไม่มีมาก่อนบนโลก

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

จาก ไฟจราจร ถึง ตู้เต่าบิน FEMS บริษัทไทย ที่มี “DNA” สร้างสิ่งที่ไม่มีมาก่อนบนโลก

Date Time: 22 ต.ค. 2566 09:46 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Latest


นาทีนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก “ตู้เต่าบิน” ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ ขายเครื่องดื่ม แบบ “ปรุงสด” มากกว่า 200 ชนิด ภายในตู้ 1 ตารางเมตร เท่านั้น ทั้งนี้การสร้างตู้เต่าบิน นั้นเป็นมีความซับซ้อนสูง ต้องอาศัย การดีไซน์และออกแบบ อย่างมาก เป็นการสร้างสิ่งที่ไม่มีมาก่อนในโลก และเป็นการสร้างด้วยฝีมือคนไทยทั้ง 100%

 

โดยผู้สร้างผู้เต่าบินนั้น คือ กลุ่มฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น หรือ FORTH ที่เป็นผู้ออกแบบและดีไซน์ทั้งหมด โดย  FORTH และผู้ที่ภาพวาด ดีไซน์ มาสร้างให้ตู้นี้เป็นจริงได้นั้น คือ บริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส จำกัด (มหาชน) หรือ FEMS ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิต ที่กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเร็วๆ นี้ โดย FEMS มีความสามารถในการผลิตที่สูงมาก ไม่ใช่เพียงแค่ตู้เต่าบินที่บริษัทดำเนินการอยู่เท่านั้น ทั้งสินค้าในเครืออย่าง กิ้งก่า อีวี และอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตอีกจำนวนมาก

 

กลุ่ม FORTH ไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการรับจ้างประกอบและผลิตในไทย แต่ที่จริงแล้วดำเนินธุรกิจมานานกว่า 30 ปี โดยก่อนหน้านี้เคยประกอบและออกแบบอุปกรณ์ อย่างไฟจราจรอัจฉริยะบนทางด่วน ที่สามารถคำนวณนาทีถึงที่หมายได้ หรือ เครื่องปรับอากาศที่มีเซนเซอร์อยู่ข้างใน รวมถึง อุปกรณ์ด้านเครือข่ายโทรศัพท์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

 

โดย นิศา อมตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส จำกัด (มหาชน) หรือ FEMS เปิดเผยกับ #ThairathMoney ว่า FEMS ไม่ใช่หน้าใหม่ของธุรกิจ โดยเดิมที FEMSอยู่รวมในกลุ่มของฟอร์ท ดำเนินธุรกิจด้านการรับจ้างผลิตมากว่า 30 ปีและเห็นโอกาสการเติบโต ซึ่งเราเชื่อว่า ในชีวิตประจำวันของผู้คนจะมีสินค้าที่ถูกผลิตโดย FEMS  

 

“เดิมที FEMS บริษัทรวมอยู่ใน FORTH และเป็นโรงงานของกลุ่ม แต่เราเห็นโอกาสการเติบโต และมีทีมผู้บริหารจากบริษัทด้าน EMS ระดับโลกเข้ามาร่วมงาน ดังนั้นกลุ่มจึงมองว่า การแยก FEMS ออกมาเป็นโอกาส” นิศา กล่าว

 

ปัจจุบันธุรกิจของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มที่ 1 งานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ภายในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ กลุ่มที่ 2 งานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป ซึ่งฐานลูกค้าของเรานั้นอยู่ในกลุ่ม FORTH 30% และนอกกลุ่ม 70%

FEMS ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 6 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มพลังงาน เช่น พลังงานทดแทน ที่เก็บพลังงาน

2. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น แผงวงจรแอร์ เครื่องซักผ้า เครื่องมือมอเตอร์ เซนเซอร์ ไฟบ้าน ไฟจราจร  

3. กลุ่มสื่อสาร เช่น เสาสื่อสาร เครือข่าย Network

4. กลุ่มการแพทย์ เช่น วีลแชร์ไฟฟ้า เซนเซอร์วัดระดับน้ำตาล

5. กลุ่มยานยนต์ เช่น ไฟรถยนต์ แผงวิทยุรถยนต์ GPS สำหรับเรือยอร์ช

6. กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ระบบ หรือการผลิตตู้ต่างๆ

 

นิศา มองว่า FEMS ไม่ใช่แค่เพียงผู้รับจ้างผลิต แต่เรามองว่าเป็น เซอร์วิส คอมพานี พร้อมจะตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยพิจารณาว่าลูกค้าต้องการอะไร เช่นหากต้องการผลิตสินค้าที่มีดีไซน์มาแล้ว เราก็พร้อมที่จะผลิตให้

แต่หากมีเพียงแต่แนวคิดที่อยากจะได้สินค้า เราช่วยตั้งแต่การออกแบบ ตามความต้องการลูกค้า ช่วยลดต้นทุน และหากเป็นลูกค้าจากต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย มีทีมที่จะช่วยคอยเป็นที่ปรึกษาในการทำการตลาดในเมืองไทย และให้บริการหลังการขายให้ด้วย

 

ตู้เต่าบิน การสร้างสิ่งที่ไม่มีมาก่อนบนโลก

อย่างในช่วงของการทำตู้เต่าบินนั้น ถือเป็นหนึ่งใน โชว์เคส ของกลุ่ม โดยจุดเริ่มต้น FORTH ได้ทำการศึกษาการตลาด เจาะเข้าไปในนิสัยคนไทยชอบกินน้ำหลากหลาย จึงมีไอเดียสร้าง “ตู้เต่าบิน” โดยมีเป้าหมายจะต้องเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลก ใช้เวลาดีไซน์กว่า 2 ปี ทำเครื่องดื่มได้มากกว่า 200 ชนิด  

 

ซึ่งในฝั่งของ FEMS นั้นเราทำงานร่วมกับบริษัทแม่ นำดีไซน์ที่ได้รับมา พิจารณาว่าสามารถผลิตได้จริงหรือไม่  ซึ่งหากเปิดตู้เต่าบินดูจะพบว่า ในพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตรของตู้เต่าบิน เราใช้ทุกพื้นที่อย่างคุ้มค่า เพื่อให้ตู้มีคุณภาพสูงสุด และสิ่งที่เราโฟกัสมากที่สุดคือ คุณภาพและความทนทานของตู้ ที่จะต้องใช้งานอย่างน้อย 5-10 ปี และต้องเสถียรด้วย

 

แผนการผลิตตู้เต่าบินนั้น ยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยทุกตู้ที่ติดตั้งในประเทศไทย หรือต่างประเทศ จะถูกผลิตโดย FEMS ทั้งหมด โดยศักยภาพในการผลิตตู้เต่าบินปัจจุบันอยู่ที่ 40 ตู้ต่อวัน เราสามารถผลักการผลิตได้สูงถึง 100 ตู้ต่อวันได้ ในปีที่แล้วบริษัทผลิตไปแล้วกว่า 5,000 ตู้ ซึ่งตามแผนจะต้องดำเนินการให้ได้ 2 หมื่นตู้


นอกจากตู้เต่าบินแล้ว กิ้งก่า EV อีกหนึ่งเรือธงสำคัญของกลุ่ม บริษัทก็อยู่ระหว่างการเริ่มดำเนินการผลิตเช่นกัน โดยเรามองว่า จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างการเติบโตได้

 

การเป็นลูก FORTH คือจุดได้เปรียบ

 

ด้านความเสี่ยงที่หลายคนมองว่า FEMS คือการพึ่งพิงกับบริษัทแม่ถึง 30% แต่ในมุมของเรา ไม่ใช่ความเสี่ยง เพราะสัดส่วนของบริษัทแม่ไม่มากนัก และเรามีลูกค้าจากภายนอกที่มากกว่า และตามเป้าหมายของเรา ต้องการโฟกัสลูกค้าจากต่างประเทศ ที่ต้องการงานประกอบที่คุณภาพสูง ในอนาคต พอร์ตลูกค้าจะโตมากขึ้นเรื่อยๆ และสัดส่วนของ FORTH อาจจะลดลง

 

“แม้เราจะเป็นลูกของ FORTH แต่ต้องยืนได้ด้วยตัวเอง ถ้า FORTH ดี เราก็ดีด้วย” นิศา กล่าว

 

เร่งเปลี่ยนไลน์ผลิตใหม่

 

อย่างไรก็ตาม FEMS แม้ปัจจุบันจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 50% แต่บริษัทยังลุยลงทุนต่อเนื่อง โดยมีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุน โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยี และยกระดับไลน์การผลิตให้มีความทันสมัยมากขึ้น ซึ่งเรามองว่าเป็นจังหวะที่เหมาะสมกับการเข้าตลาดหุ้นและลงทุนในช่วงนี้

โดยบริษัทมีแผนจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 320 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท สัดส่วนหุ้นที่เสนอขาย IPO คิดเป็น 28.57% ของจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการ IPO ในครั้งนี้

โดยจะจัดสรรหุ้นส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“FORTH”) ในฐานะบริษัทแม่ (Pre-emptive Offering) และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์