ก.ล.ต. ยกระดับการซื้อ-ขาย 5 ขั้นตอน คุมเข้มหุ้นไอพีโอ พร้อมปรับปรุงเกณฑ์ “Backdoor Listing”

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต. ยกระดับการซื้อ-ขาย 5 ขั้นตอน คุมเข้มหุ้นไอพีโอ พร้อมปรับปรุงเกณฑ์ “Backdoor Listing”

Date Time: 25 ก.ย. 2566 15:46 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ก.ล.ต. ประกาศพร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการกำกับดูแลตลาดทุนไทยที่เข้มข้นขึ้น โดยยกระดับเกณฑ์การกำกับดูแลซื้อขาย 5 ขั้นตอน ตั้งแต่การกรองหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือก่อนไอพีโอ การเข้าและการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เพื่อให้ตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือต่อผู้ลงทุนและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน

Latest


จอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ ในฐานะโฆษก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ลงทุนอย่างเท่าเทียมและโปร่งใส โดยได้ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนให้เข้มข้นขึ้น ภายใต้ “โครงการบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เข้มแข็ง” ซึ่ง ก.ล.ต. มีบทบาทหน้าที่หลักในการคัดกรองผู้ออกหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนผ่านหุ้นไอพีโอ ก่อนที่จะเข้าจดทะเบียน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนในทุกขั้นตอนตั้งแต่เข้าจดทะเบียน (listing) ตลอดจนการออกตลาดหลักทรัพย์ฯ (delisting)


ซึ่งที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้มีการหารือกับตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในระดับคณะกรรมการและระดับฝ่ายจัดการเกี่ยวกับแนวทางการกำกับบริษัทจดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น ก.ล.ต. จึงพร้อมสนับสนุนและร่วมมือในการดำเนินการต่างๆ ทั้งด้านการออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน 5 ขั้นตอน ตั้งแต่การกรองหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือก่อนไอพีโอ (IPO) การเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ตลอดจนการออกจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณสมบัติเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักการที่ตอบโจทย์การกำกับดูแลให้ความเข้มแข็งเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุนไทย


ในขณะที่คำนึงถึงการไม่ออกกฎเกณฑ์โดยไม่จำเป็น การปฏิบัติได้จริง และมีความยืดหยุ่นตามสมควรในการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อให้ตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือต่อผู้ลงทุนและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน (Capital Market for All) 


นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ในการออกมาตรการเพื่อกำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ เช่น การปรับปรุงเกณฑ์การกำหนดวงเงินลูกค้าซึ่งเป็นเกณฑ์ของสมาคมฯ เกณฑ์การวางหลักประกันในบัญชีเงินสดซึ่งเป็นเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการเปิดบัญชีและวางหลักประกันในบัญชีเงินสด โดยมีการพิจารณาคุณภาพของหลักประกันและข้อมูลความเสี่ยงของลูกค้าในการเปิดบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง เป็นต้น


ภายใต้ “โครงการบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เข้มแข็ง” ที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการออกมาตรการส่งเสริมและยกระดับการคุ้มครองผู้ลงทุนโดยการจัดทำโครงการยกระดับทั้งองคาพยพในตลาดทุนในส่วนที่เป็นต้นน้ำและกลางน้ำ เพื่อให้ป้องกันเหตุที่ไม่สมควรเกิดในตลาดทุน (ปลายน้ำ) ได้มากขึ้น ได้แก่


1.การคัดกรองคุณภาพและกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักแห่งธรรมาภิบาล การปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนโดยอ้อม (backdoor listing) ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

2.การยกระดับบุคลากรในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องอย่างผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน บุคลากรของบริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างชอบธรรมและรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างแท้จริง

3.การสร้างกลไกที่เอื้ออำนวยให้ผู้ลงทุนมีความรู้และสามารถปกป้องสิทธิตนเองได้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์