ส่องหุ้นน้องใหม่ GFC ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เข้าเทรด 13 ก.ย.นี้ ทำไม คุณหมอวีไอ เข้าถือหุ้น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่องหุ้นน้องใหม่ GFC ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เข้าเทรด 13 ก.ย.นี้ ทำไม คุณหมอวีไอ เข้าถือหุ้น

Date Time: 12 ก.ย. 2566 14:24 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

ถึงเวลาเข้าไอพีโอ สำหรับ บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GFC หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการทางการแพทย์ สำหรับผู้มีบุตรยาก ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวน 60 ล้านหุ้น ที่ราคาไอพีโอ 7.00 บาท โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ในวันที่ 13 ก.ย.นี้ โดย ThairathMoney จะชวนทำความรู้จักก่อนเข้าเทรด

 

 

จาก “คนไข้” สู่ “เจ้าของ”  

 

GFC เป็นศูนย์รวมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นนำด้านการเจริญพันธุ์ โดยมีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวช และเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่มีประสบการณ์ด้านการให้บริการทางการแพทย์ผู้มีปัญหามีบุตรยากมากกว่า 23 ปี โดยจุดเริ่มต้นของ GFC นั้น กรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GFC เปิดเผยกับ ThairathMoney ว่า เดิมตนเป็นนักธุรกิจด้านสิ่งทอ และมีความต้องการอยากมีบุตร ได้ปรึกษากับคลินิกและโรงพยาบาลหลายที่ แต่ไม่สำเร็จ จนได้พบกับ รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ เข้ามาช่วยให้คำปรึกษา และช่วยให้มีบุตรได้ 

ตนจึงเห็นโอกาสในธุรกิจนี้ จึงชักชวน รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ มาเปิดคลินิกร่วมกัน โดยนำประสบการณ์ที่เคยเป็นคนไข้ และได้รับคำปรึกษาที่ไม่ประสบความสำเร็จ นำมีปรับปรุงและพัฒนาคลินิกจนถึงปัจจุบัน ทำให้ให้มีอัตราความสำเร็จของการมีบุตรที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด ส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของ GFC โดยมีอัตราการเติบโตของรายได้ต่อเนื่อง โดยจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลังนั้นพบว่า

  • ปี 2563 มีรายได้ 214.42 ล้านบาท กำไร 66.55 ล้านบาท
  • ปี 2564 มีรายได้ 242.12 ล้านบาท กำไร 69.63 ล้านบาท
  • ปี 2565 มีรายได้ 275.91 ล้านบาท กำไร 65.68 ล้านบาท
  • งวด 6 เดือนแรก ปี 2566 มีรายได้ 166.95 ล้านบาท กำไร 34.33 ล้านบาท

 

หนึ่งในความน่าสนใจของ GFC คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ประกอบด้วย

 

  • อันดับที่ 1 รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ ถือ 56 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 25.46%
  • อันดับที่ 2 นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ ถือ 40 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 18.18%
  • อันดับที่ 3 นางสาวภาสิรี อรวัฒนศรีกุล ถือ 32 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 14.55%

 

โดยผู้ถือหุ้นอันดับที่ 2 นั้น นพ.ประมุข เป็นคุณหมอด้านสูตินรีเวช และในขณะเดียวกันยังเป็นคุณหมอนักลงทุนด้วย โดยสไตล์การลงทุนของคุณหมอ คือ เน้นการลงทุนระยะยาว โดยในอดีตที่ผ่านมา นพ.ประมุข เคยดำรงตำแหน่งอุปนายกนักลงทุนหุ้นคุณค่า หรือ สมาคมวีไอ ซึ่งนพ.ประมุข เข้ามาถือหุ้น GFC ตั้งแต่ช่วงก่อตั้ง  

 

 

GFC เข้าตลาดหุ้นเพื่อขยายสาขา

 

สำหรับการเข้าจะระดมทุนครั้งของ GFC นั้นบริษัทได้รับเงินทั้งสิ้น 420.00 ล้านบาท บริษัทฯ จะนำไปขยายการลงทุนโครงการคลินิกสาขาสุวรรณภูมิ-พระราม 9 เพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษา นอกจากนี้นำเงินไปชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และสุดท้ายเพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

 

 

ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ประเมินมูลค่าพื้นฐานของ GFC ที่ 10.10 บาทต่อหุ้น โดย re-lated PE ของ GFC ที่ระดับพรีเมียมกลุ่มการแพทย์ เนื่องจาก

1. GFC มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดเด่นศักยภาพให้บริการครบวงจร มีทีมแพทย์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงในตลาด

2. มีการใช้เทคโนโลยี EEVA ร่วมวินิจฉัยและประเมินตัวอ่อน ทำให้ใน 1Q23 มีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์จากวิธี ICSI และวิธี ICSI +NGS ที่ 68% และ 73% ตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 45% 

3. มีโอกาสเติบโตสูงจากการเปิด 2 สาขาใหม่ และขยายลูกค้าต่างชาติ จะเป็น S-Curve ใหม่ของการเติบโตระยะยาว

4. ธุรกิจหลักของ GFC อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตขาขึ้น

5. การให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก เป็นบริการเฉพาะกลุ่ม ทำให้ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อราคาไม่มาก และมี อัตราทำกำไรสูงกว่าธุรกิจโรงพยาบาล

 

ทั้งนี้ ประเมินการเติบโตของ GFC ในปี 2024-2025 คาดกำไรสุทธิ 77 ล้านบาท และ 91 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปี 32% CAGR จากปัจจัยสนับสนุน รายได้เติบโตต่อปีเพิ่มขึ้น 24% CAGR จากการเปิด 2 สาขาใหม่ ทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น และปี 2025 เริ่มเห็นผลบวก Economies of scale ของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มี Gross margin ที่ 45.9% ดีขึ้นจากปี 2024 และค่าใช้จ่ายการเงินลดลงตามเงินกู้ สถาบันการเงินลดลงในปี 2024-2025.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ