โบรกฯ ชี้ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เป็นผลดีกับ 2 หุ้น BEM-BTS คาดรัฐตั้งเงินอุดหนุนช่วยค่าโดยสาร

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

โบรกฯ ชี้ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เป็นผลดีกับ 2 หุ้น BEM-BTS คาดรัฐตั้งเงินอุดหนุนช่วยค่าโดยสาร

Date Time: 8 ก.ย. 2566 10:26 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • เป็นที่จับตาอย่างมาก สำหรับนโยบาย ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งจะส่งผลต่อค่าโดยสารให้ลดลง อาจกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการรถไฟฟ้า 2 รายที่สำคัญ คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบัน และ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ให้ปรับตัวลดลงด้วย กดดันราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวได้ไม่ดีนัก
  • ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า นโยบายดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับทั้ง 2 บริษัท และคาดว่าจะได้รับผลดีจากการตั้งงบเพื่ออุดหนุนค่าโดยสารของภาครัฐ

Latest


เป็นที่จับตาอย่างมาก สำหรับนโยบาย ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งจะส่งผลต่อค่าโดยสารให้ลดลง อาจกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการรถไฟฟ้า 2 รายที่สำคัญ คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบัน และ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ให้ปรับตัวลดลงด้วย กดดันราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวได้ไม่ดีนัก

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า นโยบายดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับทั้ง 2 บริษัท และคาดว่าจะได้รับผลดีจากการตั้งงบเพื่ออุดหนุนค่าโดยสารของภาครัฐ

 

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ประเมินประเด็น นโยบายของรัฐบาลเพื่อไทยที่จะเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นั้น ที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่นักลงทุนกังวล แต่จากการสัมภาษณ์ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมล่าสุด นโยบายนี้น่าจะต้องใช้เวลาอีกเป็นปี (ไม่ใช่แค่ เป็นเดือน) กว่าจะดำเนินการได้จริง และการให้เงินอุดหนุนจากภาครัฐจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่การแทรกแซงผู้ประกอบการภาคเอกชน

 

 

ทั้งนี้ ค่าตั๋วรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายจะส่งผลดีต่อทั้ง BTS และ BEM หลังจากตลาดเป็นกังวลกับกรณีที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อวันอังคารที่ 5 กันยายน 2023 ว่ารัฐบาลจะไม่เร่งผลักดันนโยบายค่าตั๋วรถไฟฟ้า 20 บาท เป็นนโยบายเร่งด่วน เมื่อวานนี้ นายสุริยะได้ ออกมาชี้แจงผ่านสื่อ ซึ่งเราได้ฟังการสัมภาษณ์เมื่อวานนี้ และจับใจความสำคัญได้ ดังนี้

 

  1.  ค่าตั๋วรถไฟฟ้า 20 บาทยังเป็นนโยบายเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทย เพราะเป็น หนึ่งในนโยบายหลักที่ใช้หาเสียงในการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา
  2. แต่ยังมีอุปสรรคบางประการที่ต้องแก้ไขก่อนจึงจะสามารถดำเนินนโยบายนี้ได้ ซึ่งรวมถึงการหาทางออก ในกรณีค่าใช้จ่าย O&M ที่ยังค้างจ่ายของรถไฟฟ้าสายสีเขียว และกรณีผู้ชนะประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม นอกจากนี้ การจะดำเนินนโยบายนี้ได้ยังต้องมีการพัฒนาระบบตั๋วร่วมด้วย ดังนั้น ระบบการจ่ายเงินจึงน่าจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะในส่วนของ BTS เพราะระบบของ BTS ในปัจจุบันขึ้นกับ กทม. ไม่ใช่ รฟม.

 

 

นอกจากนี้ เรายังมอง ว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลยังเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลต้องพิจารณาในการดำเนินนโยบายนี้ ถ้ามีการดำเนินนโยบายนี้จริง ภาครัฐจะต้องให้เงินอุดหนุน เรามองบวกกับหุ้นกลุ่มขนส่งทางบกหลังจากที่ได้ฟังการสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยในประการแรก ประเด็นที่กดดันทั้ง BTS และ BEM มาอย่างยาวนานอย่างกรณีค่าใช้จ่าย O&M ที่ค้างจ่าย และผู้ชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม น่าจะได้รับการแก้ไขในรัฐบาลนี้ ยิ่งมีการใช้นโยบายค่าตั๋ว 20 บาทตลอดสายเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งแก้ปัญหาที่ค้างคาอยู่ไปได้เร็วเท่านั้น ประการที่สอง ค่าตั๋ว 20 บาท ตลอดสายจะใช้กับรถไฟฟ้าทั้งระบบ ทั้งสายสีเขียว แดง และน้ำเงิน

 

โดยรัฐบาล จะต้องอุดหนุนส่วนต่างระหว่างค่าโดยสารที่แท้จริงที่ BTS และ BEM ต้องได้รับกับค่าตั๋ว 20 บาท ซึ่งเมื่ออิงตามประมาณการของเรา รัฐบาลจะต้องอุดหนุนปีละประมาณ 4.7 พันล้านบาท เพื่อให้นโยบายนี้เกิดขึ้นได้จริง ภายใต้สมมติฐานว่ามี ผู้โดยสารเฉลี่ย 1 ล้านเที่ยวต่อวัน และค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 33 บาท/เที่ยว ทั้งนี้ เนื่องจากสัญญาสัมปทานกำหนดโครงสร้างราคาเอาไว้อย่างชัดเจน

 

ดังนั้น การผลักภาระจากการลดค่าตั๋วไปให้ผู้ประกอบการจึงเป็นไปได้ยาก เราเลือก BEM เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มนี้ (ราคาเป้าหมาย 11.50 บาท) เราแนะนำซื้อทั้ง BEM (11.50 บาท) และ BTS (ราคาเป้าหมาย 8.50 บาท) เราชอบ BEM มากกว่า BTS จากแนวโน้มการเติบโตของกำไร โดยมองว่าโมเมนตัมกำไรใน 3Q23 ของ BEM จะยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องจาก 2Q23 เพราะผลจากปัจจัยฤดูกาล ในทางกลับกัน เรามองว่าผลประกอบการของ BTS จะยังคงถูกกดดันจากผลการดำเนินงานที่อ่อนแอของบริษัทย่อย (VGI) และรถไฟฟ้าสายใหม่ (สายสีเหลือง)


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์