วิเคราะห์ นโยบายลดราคาพลังงาน รบ.เศรษฐา สร้างแรงกดดันหุ้นโรงกลั่น คาด CPAXT อาจได้ประโยชน์

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

วิเคราะห์ นโยบายลดราคาพลังงาน รบ.เศรษฐา สร้างแรงกดดันหุ้นโรงกลั่น คาด CPAXT อาจได้ประโยชน์

Date Time: 31 ส.ค. 2566 10:56 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Latest


รัฐบาลของนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ประกาศความชัดเจนจะเข้ามาแก้ไขราคาพลังงานที่สูงทันทีที่เข้าบริหารประเทศ ทั้งราคาน้ำมัน ราคาค่าไฟฟ้า ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เอเชีย พลัส ได้ทำการวิเคราะห์ นโยบายดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมองว่า บริษัทในกลุ่มโรงไฟฟ้าน่าจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในด้านของกลุ่มโรงกลั่น อาจถูกผลกระทบในด้านความเชื่อมั่นต่อราคาหุ้นได้

 

 

บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส เปิดเผยว่า แนวทางนโยบายลดราคาพลังงาน ส่งผลอย่างไรต่อตลาดหุ้น วานนี้ (30 ส.ค.) นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของรัฐบาลรักษาการ และ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ เกี่ยวกับการจัดทำนโยบายของรัฐบาลใหม่ เพื่อส่งไม้ต่อในการทำงานด้านเศรษฐกิจร่วมกัน และจัดทำร่างนโยบาย ซึ่งนายเศรษฐารับทราบสิ่งที่รัฐบาลรักษาการทำมาแล้ว ส่วนจะสานต่อหรือดัดแปลงเรื่องใด เป็นนโยบายที่รัฐบาลใหม่จะพิจารณา

 

โดย 3 ประเด็นหลักที่มีการหารือกัน ได้แก่

1. การตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) : ปัจจุบันตรึงราคา LPG ไว้ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม โดยมีกรอบระยะเวลาจะสิ้นสุด 31 ส.ค. 66 แต่เนื่องจากต้องรอให้รัฐบาล ใหม่เข้ามาพิจารณาราคาก๊าซหุงต้มใหม่ ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2566 เห็นชอบแนวทางพิจารณาแนวทางการรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีก LPG ต่ออีกเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-30 ก.ย. 2566 ไปก่อน โดยแนวทางที่ได้มีการนำเสนอไว้ คือ 1) การใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรักษาเสถียรภาพ LPG ให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายราคาขายปลีก LPG ที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กำหนด 2) ใช้งบประมาณรัฐอุดหนุนราคา 3) ใช้เงินสนับสนุนจากบริษัทพลังงาน

 

2. การลดราคาน้ำมันสำเร็จรูป : ในส่วนของน้ำมันดีเซลในปัจจุบัน ได้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเพลิงอุดหนุนอยู่ที่ 6.43 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร ซึ่งจะกระทบกองทุนน้ำมันเฉลี่ยเดือนละ 10,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 10,375 ล้านบาท ทั้งนี้ แนวทางการลดราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้มีการนำเสนอไว้ คือ

ลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งหากลดภาษีลงลิตรละ 5 บาท จะกระทบกับรายได้รัฐบาลเดือนละ 10,000 ล้านบาท และลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซิน โดยปัจจุบันถึงแม้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะอุดหนุนน้ำมันดีเซลลิตรละ 6.43 บาท แต่น้ำมันดีเซลถูกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลิตรละ 0.81-2.80 บาท ส่วนน้ำมันเบนซินถูกจัดเก็บอยู่ราว 0.81-2.80 บาทต่อลิตร ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภท 1) ปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยเฉพาะราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งขณะนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างการจัดการโครงสร้างใหม่

3. การลดค่าไฟฟ้า : ปัจจุบันค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค. 66 อยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย (ค่า Ft 66.89 สตางค์ต่อหน่วย) ซึ่งที่ผ่านมามีการสนับสนุนผ่านการกู้เงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อมาลดค่า Ft ทั้งนี้ แนวทางการลดค่าไฟฟ้าที่ได้มีการนำเสนอไว้ คือ 1) รัฐบาลจัดงบประมาณเข้ามาช่วยอุดหนุนค่าไฟฟ้าเหมือนที่รัฐบาลชุดที่แล้วเคยดำเนินการ โดยใช้มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งที่ผ่านมาช่วยเหลือผู้ใช้ไฟเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน และส่วนผู้ใช้ไฟที่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ให้ปรับการช่วยเหลือเป็นแบบขั้นบันได เป็นต้น 2) การบริหารก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยจัดสรรก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัยก่อน ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน 3) การยืดหนี้ค่าบริหารจัดการค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่ง กฟผ.รับภาระไปก่อนรวมวงเงิน 110,000 ล้านบาท โดยผู้ใช้ไฟมีกำหนดใช้หนี้คืน กฟผ. รวม 22 เดือน และถ้าจะลดค่าเอฟที ต้องขยายเวลาคืนหนี้ให้ กฟผ.ออกไป โดยรัฐบาลต้องมาแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ กฟผ. เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาล 4) การปรับแก้ในเรื่องของค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) โดยการเจรจาการลด Margin การยืดเวลาของสัญญาเดิม และไม่เร่งการเพิ่มซัพพลายของการผลิตไฟฟ้า 5) การเร่งเจรจาหาข้อยุติพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพื่อเปลี่ยนความขัดแย้งในอดีต ให้กลับมาเป็นโอกาสของประเทศที่จะได้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตไฟฟ้าที่ถูก อย่างไรก็ตาม ทุกประเด็นยังต้องรอข้อสรุปแนวทางนโยบายจากทางรัฐบาลใหม่ว่าจะเป็นไปในแนวทางใด แต่ทั้งนี้จากข้อเสนอแนวทางที่มีการเจรจาในที่ประชุมดังกล่าว พบว่านอกจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาครัฐ ที่จะต้องอุดหนุนเพื่อลดราคาพลังงานแล้ว

เบื้องต้นจากประเด็นข่าวดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนใน ตลท. ใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ประเด็นการปรับโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งในอดีตเคยถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากราคาหน้าโรงกลั่นจะเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของโรงกลั่น และเป็นราคาที่ถือว่าใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันในตลาดภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ประเด็นข่างดังกล่าวอาจทำให้ตลาดมีความกังวลต่อหุ้นโรงกลั่นในช่วงสั้นได้ จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน 2) ประเด็นการปรับแก้ในส่วนของค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) ซึ่งหากมีการปรับแก้ไขจริง จะส่งผลกระทบต่อกำไรของโรงไฟฟ้า IPP ที่จะลดลงจากสัญญาเดิมที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้ ซึ่งในอดีตยังไม่เคยมีการกล่าวถึงในรัฐบาลที่ผ่านๆ มา แต่ทั้งนี้ประเด็นข่าวที่ออกมาอาจส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า IPP อาทิ GULF, GPSC, RATCH, EGCO, BPP เป็นต้น

 

 

บล.กรุงศรี ประเมินว่า หุ้น CPAXT จะได้รับประโยชน์ รัฐบาลใหม่เตรียมลดค่าไฟฟ้า หนุนกำลังซื้อประชาชนเพิ่มขึ้น และเป็นบวกโดยตรงต่อ CPAXT จากภาระค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ลดลง. 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ