เช็กก่อนซื้อหุ้น PSP IPO 6.2 บาท เข้าเทรด 30 ส.ค.นี้ แพงหรือไม่ เทียบกับหุ้นในกลุ่ม

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เช็กก่อนซื้อหุ้น PSP IPO 6.2 บาท เข้าเทรด 30 ส.ค.นี้ แพงหรือไม่ เทียบกับหุ้นในกลุ่ม

Date Time: 29 ส.ค. 2566 12:40 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Latest


กำลังเข้าตลาดหุ้น บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์  จำกัด (มหาชน) หรือ PSP ที่กำหนดจองซื้อที่ 6.20 บาท และจะเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ (30 ส.ค.) โดยความน่าสนใจ คือ ภาวะหุ้นไอพีโอที่ถูกท้าทายอย่างหนัก โดยล่าสุด หุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์วันแรก ปิดการซื้อขายในวันเข้าเทรดต่ำจอง 5 หุ้นติดต่อกัน ผลทำให้ PSP ถูกจับตาว่าจะสามารถกู้ความเชื่อมั่นได้หรือไม่

 

ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รายงานว่า PSP ประกอบธุรกิจให้บริการโซลูชันธุรกิจผลิตภัณฑ์หล่อลื่นแบบครบวงจร (Total Solution Provider) โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตผลิตภัณฑ์ การบรรจุผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บและศูนย์กระจายสินค้า การให้บริการจัดการด้านโลจิสติกส์ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้บริษัทได้เสนอขายไอพีโอ จำนวน 350 ล้านหุ้น ที่ราคา 6.20 บาท โดยจะเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 30 ส.ค.นี้ โดยการเข้าระดมทุนครั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปซื้อ U.C. Marketing ลงทุนก่อสร้างโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ชำระเงินกู้แก่สถาบันการเงิน และเป็นกระแสเงินสดของบริษัท

 

PSP พี/อีทะลุ 24.1 เท่า

ทั้งนี้ราคาไอพีโอที่ 6.20 บาท นั้น คิดเป็น การกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ที่ราคา 6.20 บาทต่อหุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิต่อหุ้นของ บริษัทฯ ในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.2574 บาทต่อหุ้น (Fully Diluted) ซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ ในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุดที่เท่ากับ 360.3 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้จำนวนรวม 1,400 ล้านหุ้น จะคิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings : P/E) เท่ากับ 24.1 เท่า

 

PSP พี/อี พรีเมียมเมื่อเทียบกับเพื่อน

บริษัทฯ ได้เปรียบเทียบอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio : P/E) ของบริษัทจดทะเบียนอื่นที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันกับบริษัทฯ เพื่อประกอบการพิจารณาราคาเสนอขาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่มีบริษัทจดทะเบียนอื่นที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัทฯ โดยตรง เนื่องจากบริษัทฯ มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่หลากหลายซึ่งรวมธุรกิจของหลายบริษัทเข้าด้วยกัน ดังนั้น บริษัทฯ และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายจึงพิจารณาข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ อย่างไรก็ดี บริษัทดังกล่าวอาจมีลักษณะการดำเนินธุรกิจ ประเภทสินค้าและบริการ และมีการดำเนินธุรกิจในตลาดที่แตกต่างจากบริษัทฯ

โดยบริษัทที่มีความเหมาะสมในการร่วมเปรียบเทียบมีเพียงจำนวน 1 บริษัท คือ บริษัท สยามภัณฑ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันหล่อลื่น จาระบี และแบตเตอรี่ สำหรับเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินราคาหุ้นที่เสนอขาย บริษัทจึงจะใช้ข้อมูลของดัชนีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธุรกิจวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (SET: IMM) เพื่อใช้ในการอ้างอิงร่วมกันโดยเมื่อเปรียบเทียบนั้นพบว่า 

  • บริษัท สยามภัณฑ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) SPG. มีค่า P/E เฉลี่ย อยู่ที่ 15.64 เท่า
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET). มีค่า P/E เฉลี่ย อยู่ที่ 18.21 เท่า
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธุรกิจวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (SET: IMM) มีค่า P/E เฉลี่ย อยู่ที่ 19.62 %

 

ปรับโหมดรุก EV

นายสินธุ์ ครองพาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเชื่อมั่นว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านผลิตภัณฑ์หล่อลื่นแบบครบวงจรของภูมิภาคอาเซียนและเป็นผู้ผลิตอิสระรายใหญ่ของประเทศไทย ส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์

 

อย่างไรก็ตาม PSP อยู่ระหว่างการศึกษาและวิจัยผลิตภัณฑ์ น้ำมันเกียร์และจาระบี สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ผลิตภัณฑ์หล่อเย็นสำหรับแบตเตอรี่รถไฟฟ้า (EV Cooling) ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant) หรือจาระบี (Grease) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (Bio Transformer Oil) การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (Food Grade) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนขยายกำลังการผลิตและจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 25% ของรายได้จากการขายรวม ภายในปี 2569

 

 

 

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์