ตลท. เผยระบบเทรด HFT มีสัดส่วนน้อย ไม่กระทบรายย่อย พร้อมเร่งพัฒนาเครื่องมือต่อเนื่อง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ตลท. เผยระบบเทรด HFT มีสัดส่วนน้อย ไม่กระทบรายย่อย พร้อมเร่งพัฒนาเครื่องมือต่อเนื่อง

Date Time: 21 ก.ค. 2566 07:19 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • HFT ถือเป็นหนึ่งในนักลงทุนกลุ่ม Program Trading ที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดทุนไทย จนเกิดข้อสังเกตว่าระบบ HFT ดังกล่าว จะส่งผลกระทบให้นักลงทุนรายย่อยเกิดความเสียเปรียบในการซื้อขายหุ้นหรือไม่

Latest


เป็นที่น่ากังวลอย่างมากของนักลงทุนรายย่อย สำหรับการเข้ามาของเทคโนโลยีการซื้อขายหุ้น โดยเฉพาะระบบ High-frequency trading (HFT) หรือระบบการลงทุนด้วยการส่งคำสั่งซื้อขายความเร็วสูง หนึ่งในนักลงทุนกลุ่ม Program Trading ที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดทุนไทย จนเกิดข้อสังเกตว่าระบบ HFT ดังกล่าว จะส่งผลกระทบให้นักลงทุนรายย่อยเกิดความเสียเปรียบในการซื้อขายหุ้นหรือไม่


#ThairathMoney รวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ระบบ HFT คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ และประมาณ 24-43% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในยุโรปในปี 2563 และ 9% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปี 2565


สำหรับตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้น นักลงทุนกลุ่ม Program Trading เติบโตจาก 10% ของมูลค่าซื้อขายทั้งตลาดในปี 2558 มาเป็น 33% ในปี 2565 โดย 31% เป็นการซื้อขาย Program Trading ของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นกลุ่ม Non-HFT Program 22% และ HFT Program 9%


HFT มีสัดส่วนน้อย-หุ้นคนละกลุ่ม


ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ดูแลสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ข้อมูลการซื้อของของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่ามูลค่าซื้อขายทั้งหมดของระบบ HFT ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ ขณะที่จำนวนหลักทรัพย์ใน SET100 มี HFT ร่วมซื้อขายอยู่เพียงไม่เกิน 15% ของมูลค่าซื้อขายในแต่ละหลักทรัพย์ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ เน้นการลงทุนแบบซื้อ-ขายระยะสั้นในหลักทรัพย์ขนาดกลางและเล็ก


ทั้งนี้ มองว่าระบบ HFT เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการช่วยนักลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเชื่อว่ารายย่อยก็สามารถเข้าถึงเครื่องมือที่อิงกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้เช่นกัน ผ่านบริการที่หลากหลายในปัจจุบัน


เร่งเสริมเกราะนักลงทุนรายย่อย


อย่างไรก็ดี ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวทางพัฒนาเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น จากปัจจุบันที่กระแสของ AI นั้น ถือเป็นเทรนด์ของโลก ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนได้สะดวกขึ้น และจับสัญญาณการซื้อขายให้รวดเร็วขึ้นได้


ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งพัฒนาบริการระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนมากขึ้น เช่น บริการข้อมูล SETSMART ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และนำไปวิเคราะห์ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน


โอกาสของนักลงทุนรายย่อย


ด้านนายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย เปิดเผยกับ #ThairathMoney ว่า ระบบ HFT ในประเทศไทยนั้น ทุกคำสั่งซื้อขายจะถูกส่งตรงมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั่นทำให้ความแตกต่างของความได้เปรียบในการส่งคำสั่งซื้อขาย ระหว่างนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ในต่างประเทศ


ขณะเดียวกัน มองว่านักลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยระบบ HFT ในตลาดหุ้นไทยนั้น ส่วนมากใช้ในการเก็งกำไรกับสินทรัพย์ประเภท DW (Derivative Warrants) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามสินทรัพย์อ้างอิง (หุ้นแม่) ทำให้มีโอกาสทำกำไรจากบริษัทผู้ออกสินทรัพย์ (Issuer) ที่ต้องดูแลสภาพคล่องมากกว่า

อย่างไรก็ตาม มองว่าโอกาสของนักลงทุนรายย่อยในการทำกำไรในตลาดหุ้นไทยยังมีอีกมาก ซึ่งหากมองภาพใหญ่ นักลงทุนที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบซื้อขายหุ้น แบบ Program Trading สามารถเชื่อมต่อ API เข้าโดยตรงกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านบริการของบริษัทหลักทรัพย์ได้แล้ว ซึ่งจะสามารถเพิ่มความได้เปรียบในการลงทุนระหว่างรายใหญ่หรือสถาบัน


อีกทั้งปัจจุบันยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี และระบบต่างๆ จากผู้ให้บริการ เพื่อเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนรายย่อยมากมาย ไม่ว่าจากทั้งบริษัทหลักทรัพย์ หรือเซ็ตเทรด (Settrade) เช่น การตั้งราคาซื้อขายหุ้นล่วงหน้า


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ