นายศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เปิดเผยว่า บริษัทประมาณการว่าจะมีปริมาณการจราจนบนทางยกระดับปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 110,000 คันต่อวัน ซึ่งในสัปดาห์ที่มีการจราจรแออัดอาจเห็นถึงราว 120,000-130,00 คันต่อวัน ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดในปี 2562 ที่เฉลี่ย 147,290 คันต่อวัน ขณะที่ไตรมาสที่ 1/66 ที่ผ่านมาอยู่ที่ราว 108,000 คันต่อวัน สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 58% ที่ 68,000 คันต่อวัน จากสถานการณ์โควิดคลี่คลายทำให้กิจกรรมการเดินทางกลับมามากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในสนามบินมากขึ้น หนุนให้การใช้ทางยกระดับจากสนามบินดอนเมืองฟื้นตัวได้
ทั้งนี้ภายหลังการเลือกตั้งบริษัท ไม่มีความกังวลในการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ เรื่องระบบการประมูลงาน ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท จากบริษัทดำเนินธุรกิจอยู่บนมาตรฐานสากล อีกทั้งยังมีการเปิดเผยข้อมูลจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี บริษัทมีความพร้อมทางการเงิน และความพร้อมด้านการระดมทุน สำหรับการลงทุนโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ซึ่งปัจจุบันมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ระดับเพียง 0.13 เท่า
ขณะที่ผลกระทบจากเส้นทางคู่ขนานอย่างรถไฟฟ้าสายสีแดง ปัจจุบันยังไม่ได้รับผลกระทบต่อปริมาณการจราตรบนทางยกระดับ โดยประเมินค่าใช้จ่ายของผู้เดินทางอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ดี บริษัทยังติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากให้บริการทางยกระดับ จำนวน 2 ธุรกิจ โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนของการเข้าลงทุนได้ภายในปีนี้ และประกาศเป็นรายละเอียดต่อไป จากล่าสุดบริษัทได้มีการเข้าลงทุนผ่านการจัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัด (ASIAM Infra Company Limited) ร่วมกับสำเร็จแล้วในวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา โดย DMT ถือหุ้นในสัดส่วน 68% ดำเนินธุรกิจการตรวจสอบ ซ่อมแซม โครงสร้างพื้นฐาน และโครงสร้างที่เกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา คาดว่าปีนี้จะมีงานเข้ามาจำนวน 1-2 งาน โดยตั้งเป้ารายได้ที่จะเข้ามาในปีถัดไปว่าจะสามารถทำได้ที่ 50-100 ล้านบาทต่อปี
สำหรับโครงการใหม่ๆ ที่มีการเปิดเสนอราคาและจะเข้าร่วมประมูลในปีนี้ ประกอบด้วย โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต บางปะอิน หรือ M5 ระยะทาง 22 กิโลเมตร และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน - บางบัวทอง หรือ M9 ระยะทาง 38 กิโลเมตร ส่วนโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต คาดว่าจะมีการเปิดเสนอราคาใหม่ในอนาคต หลังการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะมีการทบทวนและเปิดประมูลอีกครั้ง ซึ่งหากบริษัทพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้และคุ้มค่าในการเข้าลงทุนก็จะเข้าร่วมประมูลด้วย
ส่วนความคืบหน้าของโครงการทางเชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง (AOT ramp) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบทางเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานเดือนเมืองและทางยกระดับดอนเมือง คาดว่าจะใช้งบลงทุนในการก่อสร้างประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากเงินในการดำเนินงานของบริษัท (Operation cost)
อย่างไรก็ดี บริษัทเตรียมปรับการกำหนดอัตราค่าผ่านทางตามสัญญา ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 จากอัตราเดิม 80 บาท จะเป็น 90 บาท และเดิม 35 บาท จะเป็น 40 บาท ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อปริมาณการจราจรบนทางยกระดับ จากในอดีตที่ผ่านมาก็มีการปรับกำหนดขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญา ให้สอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี ซึ่งทุกครั้งที่มีการปรับขึ้นราคา