6 หุ้นโรงไฟฟ้าใหญ่ ค่าเอฟทีพุ่งทำกำไรเริ่มฟื้นตัว

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

6 หุ้นโรงไฟฟ้าใหญ่ ค่าเอฟทีพุ่งทำกำไรเริ่มฟื้นตัว

Date Time: 18 พ.ค. 2566 15:42 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • เป็นที่น่าจับตาสำหรับหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในประเทศไทย หลังมีความน่าจะเป็น ที่อาจเปลี่ยนแปลงขั้วการเมืองไทย ทำให้อาจมีการนำไปสู่กระบวนการปรับลดค่าเอฟที (Ft) อาจกระทบต่อกำไรหรือไม่

Latest


เป็นที่น่าจับตา สำหรับหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในประเทศไทย หลังมีความน่าจะเป็น ที่อาจเปลี่ยนแปลงขั้วการเมืองไทย ซึ่งมาพร้อมกับนโยบายช่วงหาเสียงในการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ทำให้อาจมีการนำไปสู่กระบวนการปรับลดค่าเอฟที (Ft) ที่จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มโรงไฟฟ้าหรือไม่

ขณะที่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1/66 ใกล้จะเสร็จสิ้นเช่นกัน วันนี้ #ThairathMoney จะพาทุกคนไปส่องกำไรสุทธิของบริษัทกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในไทย โดยคัดเน้นๆ เฉพาะหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) มากที่สุดจำนวน 6 บริษัทด้วยกัน

เริ่มกันที่พี่ใหญ่โรงไฟฟ้าอย่าง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ การลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดราว 615,990 ล้านบาท โดยรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/66 ที่ 3,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.4% จากไตรมาสที่ 1/65 อยู่ที่ 3,395 ล้านบาท

บริษัทต่อมาคือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ซึ่งมีกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อยู่ในพอร์ต ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดราว 251,775 ล้านบาท โดยรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/66 ที่ 2,319.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 69.78% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1,366.31 ล้านบาท

บริษัทที่สาม คือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และสาธารณูปโภคต่างๆ ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดราว 176,938 ล้านบาท โดยรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/66 ที่ 1,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257% จากไตรมาสที่ 1/65 อยู่ที่ 313 ล้านบาท

ถัดมาคือ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM บริษัทถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดราว 102,972 ล้านบาท โดยรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/66 ที่ 399 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1634.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่เพียง 23 ล้านบาท

และบริษัทที่ห้า คือ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH บริษัทโฮลดิ้ง โดยลงทุนถือหุ้นในบริษัทพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงหลักประเภทต่างๆ โครงการพลังงานทดแทน ตลอดจนธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดราว 83,737 ล้านบาท โดยรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/66 ที่ 1,447.67 ล้านบาท ลดลง 8.3% จากไตรมาสที่ 1/65 อยู่ที่ 1,579.35 ล้านบาท

สุดท้ายคือ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO บริษัทโฮลดิ้ง ถือหุ้นในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าทั้งในฐานะรายใหญ่ (IPP) และรายเล็ก (SPP) และธุรกิจการให้บริการด้านเทคนิคการจัดการแก่โรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดราว 80,022 ล้านบาท โดยรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/66 ที่ 2,022 ล้านบาท ลดลง 51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 4,115 ล้านบาท

ด้านฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มโรงไฟฟ้าเท่ากับตลาด โดยเลือก GULF ที่ราคาเป้าหมาย 65 บาท และ BGRIM ที่ราคาเป้าหมาย 48 บาท เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมแก่การลงทุนในระยะยาวสำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า

โดย GULF คาดจะเห็นการฟื้นตัวของกำไรขึ้นใหม่อีกครั้งในไตรมาสที่ 2/66 จากโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ที่เตรียมจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) และถือเป็นหุ้นที่เห็นการเติบโตของกำไรโดดเด่นสูงสุดในกลุ่มโรงไฟฟ้า หนุนจากโครงการ Backlog ในมือสูงสุดเกือบ 4,000 เมกะวัตต์ ที่จะช่วยต่อยอดฐานกำไรธุรกิจโรงไฟฟ้าให้เติบโตได้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2575

ในขณะที่ BGRIM ถือเป็นหุ้นที่คาดจะเห็นการฟื้นตัวชัดเจนในปี 2566 จากแรงหนุนในด้านค่าเอฟที (Ft) เฉลี่ยในปี 2566 ที่คาดจะอยู่สูงกว่าปี 2565 และต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่เริ่มปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์