เอสซีจีอัดงบลงทุน ปรับตัวสู่บริษัทเทคโนโลยี หวังเป็น New S-Curve ใหม่ให้ธุรกิจ

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เอสซีจีอัดงบลงทุน ปรับตัวสู่บริษัทเทคโนโลยี หวังเป็น New S-Curve ใหม่ให้ธุรกิจ

Date Time: 20 มี.ค. 2566 16:15 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

นายอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer SCG Digital บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทกำลังเดินหน้าสู่การเป็นเทคคอมพานี โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาสร้างการเติบโตให้กับบริษัท เพื่อพัฒนาให้บริการของบริษัทให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการสร้างบริการใหม่ที่ช่วยตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยในบ้าน


“การเป็นเทคคอมพานีไม่ใช่เราจะเปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่ แต่เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของบริษัทในอนาคต”


ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจะเข้ามากระทบในทุกธุรกิจ รวมถึง SCG โดยเราประเมินว่า ผลกระทบกับองค์กรจะอยู่ในระดับกลาง และต้องการการปรับตัวของบริษัท จะนำเทคโนโลยีมาใช้ใน 2 ส่วนหลัก เอาเข้ามาช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพในธุรกิจเดิมที่มีอยู่ รวมถึงคิดค้นบริการด้านเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่เลย โดยยังอยู่ในลูกค้ากลุ่มเดิม จากเดิมที่ดูบ้าน แต่เราดูชีวิตในบ้านด้วยการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนและให้บริการได้ดีขึ้น


ในช่วงที่ผ่านมา SCG ได้ใช้งบลงทุนในด้านเทคโนโลยี ปีละ 1% ของยอดขาย และใช้เงินลงทุนในด้านดิจิทัล ประมาณปีละ 2-3 พันล้านบาท โดยมีการตั้ง WEDO ซึ่งเป็น Digital Office ขึ้นมา เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ โดยปัจจุบันเป็นปีที่ 3 ที่เริ่มดำเนินการ โดยมีจำนวนบุคลากรในทีมทั้งสิ้น 493 คน ทั้งในประเทศไทยและอินเดีย


โดยทางบริษัทได้เปิดรับพนักงานที่มีทาเลนต์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ทั้งนี้ ทีมจะนำงานวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่ มาพัฒนาสู่สินค้านวัตกรรม และผลักดันออกมาเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ ซึ่งสินค้าที่บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาและวิจัยในตอนนี้ จะเป็นเทรนด์ของสินค้าและบริการในอีก 3-5 ปีข้างหน้า


ความก้าวหน้าในปัจจุบัน เริ่มมีหลายสินค้าที่ประสบความสำเร็จและเริ่มวางขายแล้ว โดยสิ่งที่ทางทีมให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ นวัตกรรมด้วย Internet of Things (IoT) ที่ใน 3-5 ปีข้างหน้า จะเติบโตอย่างมาก และมีกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงกว่าการเปลี่ยนผ่านของรถยนต์ไฟฟ้า หรือการเกิดขึ้นของ 5G


สำหรับขีดความสามารถของไทยนั้น มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในด้านนวัตกรรม โดยต้องยกระดับจากประเทศที่รับจ้างผลิตสินค้า เป็นผู้คิดและผลิตนวัตกรรม และวางขายสินค้าในอนาคต สำหรับทิศทางสัดส่วนรายได้จากด้านเทคโนโลยีในอนาคตนั้น เป็นเรื่องที่บอกได้ยาก เพราะรายได้ของปูนซีเมนต์สูงมาก และมีรายแพ็กเกจจิ้งและเคมีคอลสูงมาก แต่ในอนาคต 10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีจะเป็น New S-Curve ซึ่งในตอนนั้นไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าไร แต่จะโตแบบทวีคูณและลีนกว่า ซึ่งแทบจะไม่มีต้นทุนแต่ให้บริการคนทั่วโลกได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ