นักลงทุนเทขายหุ้น STA และ STGT หลังกำไรร่วงตามออเดอร์ถุงมือยางลดลง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

นักลงทุนเทขายหุ้น STA และ STGT หลังกำไรร่วงตามออเดอร์ถุงมือยางลดลง

Date Time: 9 พ.ย. 2565 17:02 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • 2 หุ้นแม่ลูก STA กับ STGT ร่วงแรง หลังประกาศกำไรไตรมาส 3 ลดลง ตามความต้องการถุงมือยางเข้าสู่จุดสมดุล ผู้บริหาร STA เดินหน้าขยายกำลังการผลิตทะลุ 3.34 ล้านตัน ภายในปี 67

Latest


ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ของบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA และบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดย STA ปิดการซื้อขายที่ 19.00 บาท ลดลง 5.47% และ STGT ปิดการซื้อขาย 10.20 บาท ลดลง 11.30%


โดยการปรับตัวลดลงของราคาหุ้นนั้น เกิดขึ้นหลังจาก ทั้ง 2 บริษัท ได้รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 โดย STA รายงานกำไรที่ 1,155.9 ล้านบาท ลดลง 64.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน STGT มีกำไรสุทธิที่ 21.8 ล้านบาท ลดลง 99% จากไตรมาสก่อน


ทั้งนี้ นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2565 มีรายได้เติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยทำรายได้จากการขายและบริการ 29,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักมาจากรายได้และปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ยางแท่งที่เพิ่มขึ้น ส่วนกำไรสุทธิทำได้ 1,156 ล้านบาท เนื่องจากการปรับลดลงของราคาถุงมือยาง ตามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางที่อยู่ในช่วงการปรับสมดุล หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ

“ภาพรวมอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ สำหรับผลิตภัณฑ์ยางแท่งในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีดีมานด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยางแท่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 65,439 บาทต่อตัน ส่วนการใช้น้ำยางข้นชะลอตัวลง ขณะที่ดีมานด์ในกลุ่มถุงมือยางอยู่ในช่วงการปรับสมดุล หลังจากมีซัพพลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา” นายวีรสิทธิ์ กล่าว


ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัท ในไตรมาส 4/2565 คาดว่าจะมีปริมาณการขายยางแท่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยบริษัทฯ มีแผนลงทุนขยายกำลังการผลิตยางอย่างต่อเนื่องเป็น 3.34 ล้านตันต่อปีภายในปี 2567 จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.41 ล้านตันต่อปี เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และรองรับการเคลื่อนย้ายดีมานด์บางส่วนจากอินโดนีเซีย ซึ่งประสบปัญหาของซัพพลายที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากปัญหาโรคใบร่วงในต้นยาง อย่างไรก็ตามต้องติดตามสถานการณ์ราคาเฉลี่ยยางธรรมชาติในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เนื่องจากคาดว่าจะมีซัพพลายในประเทศไทยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บริษัท คาดว่าจะมีปริมาณการขายยางธรรมชาติทุกประเภทรวม 1.55 ล้านตันในปีนี้ ใกล้เคียงเป้าหมายที่วางไว้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ