โฮมโปร เผยกำไรไตรมาส 2/65 ที่ 1,520 ล้านเติบโต 6.11%

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

โฮมโปร เผยกำไรไตรมาส 2/65 ที่ 1,520 ล้านเติบโต 6.11%

Date Time: 29 ก.ค. 2565 11:41 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • HMPRO เผยรายได้ไตรมาส 2/65 อยู่ที่ 17,300 ล้านบาท ดันกำไรสุทธิ 1,520 ล้านบาท รับยอดขาย ค่าเช่าฟื้นตัว

Latest


HMPRO เผยรายได้ไตรมาส 2/65 อยู่ที่ 17,300 ล้านบาท ดันกำไรสุทธิ 1,520 ล้านบาท รับยอดขาย ค่าเช่าฟื้นตัว

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 65 นายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาส 2/65 บริษัทมีรายได้รวม 17,307.56 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 353.26 ล้านบาท หรือ 2.08 % และมีกำไรสุทธิที่ 1,520 ล้านบาท โต 6.11% จากงวดเดียวกันปี 64

โดยรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า เพิ่มขึ้น 1.02% จากการเปิดสาขาใหม่ที่โฮมโปรบางนา กม.1 ในไตรมาส 4/64 และการฟื้นตัวของการบริโภคในภูมิภาคที่มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบางส่วน และการผลักดันยอดขายโดยการจัดงาน Homepro Super Expo และทางออนไลน์

ด้านต้นทุนค่าเช่า 175.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.61 ล้านบาท หรือ12.55 % โดยมาจากต้นทุนค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นจากการกลับมาดำเนินงานได้เป็นปกติมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,029.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163.41 ล้านบาท หรือ 5.70% เมื่อเทียบกับปีก่อน

สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อยอดขายมีการปรับเพิ่มขึ้นจาก 17.74% ในปีก่อน มาอยู่ที่ 18.57% จากค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายกลุ่มเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ค่าสาธารณูปโภคค่าขนส่งที่จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า ค่าซ่อมแซม และการปรับสู่อัตราปกติของค่าภาษีโรงเรือน

ส่วนกำไรขั้นต้นจากการขายสินค้า และการให้บริการลูกค้า หรือ Home Service รวมจำนวน 4,195.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129.83 ล้านบาท หรือ 3.19% เมื่อเทียบกับปีก่อน รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 25.17% ในปีก่อน มาอยู่ที่ 25.71% ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของกลุ่มสินค้าที่มีอัตรากำไรสูง รวมถึงรายได้จากการบริการที่เพิ่มขึ้น แม้ต้นทุนค่าขนส่งในการกระจายสินค้าสู่สาขาจะปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันก็ตาม

นายคุณวุฒิ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ผ่านมา ไทยเผชิญกับแรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 7% ซึ่งนับได้ว่าเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบที่แพงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ทั้งในด้านต้นทุนของสินค้าและต้นทุนในการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะจากน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อต้นทุนค่าขนส่งในภาคธุรกิจ ที่เริ่มมีการปล่อยราคาลอยตัวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่บริษัทฯ ยังพยายามบริหารจัดการต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการควบคุม และปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ทั้งทางการบริหารในสาขาของบริษัท รวมถึงการบริหารในระบบห่วงโซ่อุปทาน ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์