ไทยออยล์ เดินเกมสร้าง New S-Curve สู่เป้าหมายบริษัทพลังงานที่ยั่งยืน

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยออยล์ เดินเกมสร้าง New S-Curve สู่เป้าหมายบริษัทพลังงานที่ยั่งยืน

Date Time: 21 มี.ค. 2565 14:51 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ไทยออยล์ เดินเกมลงทุนธุรกิจโอเลฟิน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พร้อมขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาค สร้าง New S-Curve สู่เป้าหมายบริษัทพลังงานที่ยั่งยืน

Latest


ไทยออยล์ เดินเกมลงทุนธุรกิจโอเลฟิน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พร้อมขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาค สร้าง New S-Curve สู่เป้าหมายบริษัทพลังงานที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 65 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ Empowering Human Life through Sustainable Energy and Chemicals เพื่อสอดคล้องแนวโน้มอุตสาหกรรมพลังงานที่กำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน Energy Transition เพื่อใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ทั้งนี้ ไทยออยล์ ยังคงรากฐานที่มั่นคงจากธุรกิจหลัก หรือ Building on Our Strong Foundation เช่น ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และธุรกิจอะโรเมติกส์ ด้วยการมองหา New S-Curve หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ ธุรกิจโอเลฟิน ธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง หรือ High Value Products : HVP ธุรกิจไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน การขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาค จนถึงการลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทพลังงานที่ยั่งยืน โดยกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน หรือ 3Vs ซึ่งประกอบด้วย

1. Value Maximization : Integrated Crude to Chemicals การบูรณาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจโรงกลั่นสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เช่น อะโรเมติกส์ โอเลฟิน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับผลิตภัณฑ์ และเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทยออยล์

2. Value Enhancement : Integrated Value Chain Management การบูรณาการขยายตลาดและกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ต่างประเทศในระดับภูมิภาค เน้นตลาดที่มีความต้องการสูงเพื่อเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น

3. Value Diversification การกระจายการเติบโตสู่ธุรกิจที่มีความมั่นคงของผลกำไร เช่น ธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ล่าสุด TOP ได้ร่วมลงทุนในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk หรือ CAP ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรชั้นนำรายใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นก้าวแรกในการรุกเข้าสู่ธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟิน ส่งผลให้โครงสร้างธุรกิจปิโตรเคมีของไทยออยล์ ครอบคลุมทั้งสายอะโรเมติกส์และสายโอเลฟิน สร้างโอกาสในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปลายน้ำที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยบริษัทฯ เริ่มได้รับส่วนแบ่งกำไรตามสัดส่วนการถือหุ้น 15% ของ CAP ตั้งแต่ไตรมาส 4/64 ที่ผ่านมา

นอกจากจะเป็นการขยายตลาดไปสู่อินโดนีเซีย ที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในระดับสูงแล้ว ยังสร้างความร่วมมือทางการค้าใหม่ๆ โดยไทยออยล์ได้ทำสัญญาเพื่อส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตปิโตรเคมีให้กับ CAP และได้ทำสัญญาเพื่อจำหน่ายพอลิเมอร์เรซิน หรือ Polymer Resin และผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวอื่นๆ ของ CAP อีกด้วย นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

เตรียมออกหุ้นเพิ่มทุน ปรับสัดส่วนการถือหุ้นใน GPSC

ด้านนางวนิดา บุญภิรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการเงินและบัญชี บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรามีแผนปรับโครงสร้างทางการเงินระยะยาว ผ่านการเพิ่มทุนและปรับลดสัดส่วนการลงทุนใน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินที่ได้รับไปชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น หรือ Bridging Loan จากการเข้าลงทุนใน CAP ในช่วงไตรมาส 3/64 ที่ผ่านมารวมถึงรองรับการลงทุนขยายธุรกิจในอนาคตของไทยออยล์ด้วย

ก่อนหน้าเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นชอบการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 2,751,200,000 บาท จากปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนจำนวน 20,400,278,730 บาท ซึ่งจะเพิ่มเป็น 23,151,478,730 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 275,120,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par) หุ้นละ 10 บาท ประกอบไปด้วย

1. การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือ  PO จำนวนไม่เกิน 239,235,000 หุ้น ซึ่งรวมการเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น สัดส่วนไม่น้อยกว่า 80% ของหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ โดยจะไม่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้หรืออาจเป็นผลให้บริษัทฯ มีภาระหรือหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ และอาจพิจารณาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนบางส่วนให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย

2. บริษัทฯ อาจพิจารณาจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) เพื่อรองรับกระบวนการจัดสรรหุ้นส่วนเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย หรือ Over-Allotment จำนวนไม่เกิน 35,885,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 15% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้ ในกรณีที่มีผู้จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ เกินกว่าจำนวนที่เสนอขาย

ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเห็นชอบการจำหน่ายหุ้นสามัญข GPSC จำนวนทั้งสิ้น 304,098,630 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10.78% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GPSC เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 22,351 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.ปตท. หรือ PTT และ/หรือ บริษัท สยาม แมนเนจเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ SMH ซึ่ง ปตท. ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วน 100% โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 ของ TOP ในวันที่ 7 เม.ย.65 นี้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ