SO มอง Outsourcing Services โตได้อีก พัฒนาแพลตฟอร์มช่วยลดต้นทุนบริหาร

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

SO มอง Outsourcing Services โตได้อีก พัฒนาแพลตฟอร์มช่วยลดต้นทุนบริหาร

Date Time: 28 ก.ย. 2564 14:43 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • สยามราชธานี มองธุรกิจ Outsourcing Services ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง พร้อมทำ Sandbox กับลูกค้าเห็นจุดดีจุดด้อยจนพัฒนาแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยแก้ปัญหางานบริการ

สยามราชธานี มองธุรกิจ Outsourcing Services ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง พร้อมทำ Sandbox กับลูกค้าเห็นจุดดีจุดด้อยจนพัฒนาแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยแก้ปัญหางานบริการ

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.64 นายณัฐพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ผู้ให้บริการการจ้างเหมาบริการครบวงจร (Outsourcing Services) กล่าวว่า สยามราชธานีได้ปรับกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา

โดยเราเน้นการทำงานแบบกระจายศูนย์ หรือ Decentralize ให้อำนาจผู้บริหารแต่ละส่วนสามารถบริหารจัดการงานเองได้ ไม่ต้องผ่าน CEO ทั้งหมด กระบวนการทำงานแบบ Agile ที่จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น พร้อมรองรับการเติบโตแบบสเกลอัพ

ปัจจุบันจุดแข็งของสยามราชธานี คือ การรวมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบุคลากรไว้ด้วยกันทั้งหมด ซึ่งทำให้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลูกค้าได้หลายโซลูชั่น อีกทั้งปัจจุบันบริษัทยังมีลูกค้าที่มั่นคง ทั้งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็น Multi Company ที่มีมาตรฐานสูงรวมกว่า 600 สัญญา ส่งผลให้ SO สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากลูกค้ามาพัฒนาไปพร้อมๆ ไปกับคู่ค้าได้เลย

อย่างไรก็ตาม หากดูจากตัวเลขตลาดแรงงานไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคม จากสถิติเมื่อปี 2562 จะพบว่า มีจำนวนแรงงานอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านคน หากคิดเป็นส่วนแบ่ง 10% ของตลาดแรงงานทั้งหมด จะเท่ากับว่า SO มีตลาดแรงงานเอาต์ซอร์สอยู่ที่ 1.6 ล้านคน ซึ่งถือว่ายังคงเป็นตลาดที่ยังโตและไปได้ในอนาคต

นายณัฐพล กล่าวอีกว่า ตอนนี้ส่วนงานที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมและรถเช่าเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 10% และสิ่งนี้ได้กลายเป็นเหมือนสนามทดสอบไปพร้อมกับลูกค้า หรือ Sandbox ที่ทำให้บริษัทได้ฝึกคิดและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่และพร้อมนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหากับลูกค้าเลย เพราะปัจจุบันเรื่องการซื้อระบบซอฟต์แวร์ไม่ใช่ปัญหา

แต่หัวใจสำคัญของงานประเภทนี้คือ การที่พนักงานของ SO ไปอยู่ไซต์งานของลูกค้า ทำให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานจริงว่ามีอะไรบ้าง แล้วควรหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น จนในที่สุดสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มของตัวเองในโซลูชั่นต่างๆ ที่ SO ทำขึ้นมาเอง และก็พร้อมขยายการบริการโดยมีการต่อยอดไปยังลูกค้ารายอื่นตามแต่รายกรณีไป

นอกจากนี้ สิ่งที่บริษัทจะพยายามเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น คืองานทางด้าน SO NEXT ซึ่งเป็นส่วนงานที่นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้ที่ 5% โดยใช้กลยุทธ์คือ การเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจทุกส่วนมาร่วมกันทำงานมากขึ้น

เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องช่วยกันโต ส่วนงานไหนที่ไม่ถนัดหรือเชี่ยวชาญ ก็ไปชวนคนที่เขาเก่งกว่ามาช่วยกันทำงานได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้วยว่าจะเป็นคู่แข่งหรือธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ เนื่องจากตลาดของธุรกิจ Outsourcing Services ยังมีมูลค่าที่สูงมากยังสามารถช่วยกันทำงานและกระจายกันเติบโตได้

"ในอนาคตหลังโควิดหมดไป ธุรกิจ Outsourcing Services ยิ่งต้องปรับตัวรวดเร็วมากขึ้น และมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนในการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ  ทำให้เราต้องมองหาและใช้การบริการจากข้างนอกโดยเฉพาะงานที่แยกส่วนได้นั่นเอง"


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ