KTC โชว์กำไร 6 เดือนแรกของปี 64 แตะ 3,352 ล้าน พร้อมขยายธุรกิจสินเชื่อ

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

KTC โชว์กำไร 6 เดือนแรกของปี 64 แตะ 3,352 ล้าน พร้อมขยายธุรกิจสินเชื่อ

Date Time: 17 ก.ค. 2564 20:56 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • KTC เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด19 โชว์กำไรครึ่งปี 64 แตะ 3,352 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ รักษาฐานสมาชิกและช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

Latest


KTC เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด19 โชว์กำไรครึ่งปี 64 แตะ 3,352 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ รักษาฐานสมาชิกและช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

เมื่อวันที่ 16 ก.ค.64 ที่ผ่านมา นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC กล่าวว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนของปีนี้ยังคงเติบโต ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจากโควิด-18 โดยภาพรวมของ KTC ยังผ่านไปได้ดี โดยเรียนรู้จากประสบการณ์มาเป็นเข็มทิศในการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยสิ้นเดือน พ.ค. 64 บริษัทฯ มีการขยายตัวของลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 10.4% ซึ่งอุตสาหกรรมโต 8.6% ทำให้เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 13.7% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีสัดส่วน 13.5% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 5.4% ซึ่งอุตสาหกรรมโต 2.2% และสัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 4.7%

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการจัดหาสมาชิกใหม่ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้รวมและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวได้ไม่มาก เคทีซีจึงมีแผนสร้างโมเดลธุรกิจขยายตัวไปยังสินเชื่อมีหลักประกันมากขึ้น โดยได้เข้าซื้อหุ้น 75.05% ของบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด หรือ KTBL เมื่อปลายเดือน พ.ค. 64 และภายหลังการตรวจสอบตามเงื่อนไขเสร็จสิ้นในเดือนพ.ย. 64 ซึ่ง KTBL จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของเคทีซี

สำหรับผลการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 64 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เคทีซีมีกำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรก 3,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.1% และมีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.2% แม้ว่าบริษัทฯ จะมีรายได้รวมลดลง

แต่ยังสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ต่ำลง จากการลดค่าใช้จ่ายทางการเงินและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงไปได้ อีกทั้งมีรายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และรักษาอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิม

ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีหลายปัจจัยผันแปร จึงเป็นผลให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวมต่อรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีกำไรก่อนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงที่ -5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการมีพอร์ตลูกหนี้คุณภาพดี ทำให้ความจำเป็นในการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ เติบโตตามสัดส่วนข้างต้น

สำหรับ เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 89,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฐานสมาชิกรวม 3.3 ล้านบัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,544,573 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 55,708 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรครึ่งปีแรกเท่ากับ 94,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% (ไตรมาส 2 มูลค่า 45,739 ล้านบาท ขยายตัว 13.1%)

ส่วน NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้รวมอยู่ที่ 4.4% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 จากสาเหตุหลักของการนับรวมพอร์ตลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อจาก KTBL ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความสามารถในการชำระของลูกหนี้ลดลง และ NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 1.5% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 802,971 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 29,480 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บุคคลอยู่ที่ 3.0% พอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่า 4,255 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเท่ากับ 51.7%

โดย KTC ยังสามารถทำรายได้รวมในไตรมาส 2/2564 ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 5,406 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยรวม (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 3,430 ล้านบาท (ธุรกิจบัตรเครดิต 1,639 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 1,766 ล้านบาท และรายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าของ KTBL 25 ล้านบาท) ลดลง -5.6% จากการปรับลดเพดานดอกเบี้ยในธุรกิจบัตรเครดิตเป็น 16% รายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 1,042 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% จากรายได้ค่าธรรมเนียม Interchange

รายได้ค่าธรรมเนียมส่วนลดจากร้านค้าผู้รับชำระบัตรที่เป็นสมาชิกของเคทีซีเพิ่มขึ้นเป็น 42,625 ร้านค้า และรายได้ค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น แต่ค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ลดลง รายได้หนี้สูญได้รับคืน 833 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 19.3%) และรายได้อื่นๆ 100 ล้านบาท

ขณะที่รายได้รวมครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 10,798 ล้านบาท ลดลง -2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 3,278 ล้านบาท ลดลง -17.3% แบ่งเป็นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1,144 ล้านบาท (ลดลง -45.1%) ต้นทุนทางการเงิน 359 ล้านบาท (ลดลง -5.3%)

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวม 1,775 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 18.3%) โดยมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 22,330 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.62% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.45 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ได้ขยายเวลาให้ลูกหนี้สมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สมัครรับความช่วยเหลือด้านสินเชื่อจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 เพื่อสนับสนุนมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือรวม 21,564 บัญชี ด้วยยอดหนี้คงเหลือที่ 1,545 ล้านบาท


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์