IVL เสร็จสิ้นการเข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

IVL เสร็จสิ้นการเข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา

Date Time: 15 มิ.ย. 2564 13:30 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • อินโดรามา เวนเจอร์ส เสร็จสิ้นการเข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET ของบริษัท CarbonLite ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา รองรับงานกว่า 130 ตำแหน่ง และรีไซเคิลขวดพลาสติกกว่า 3 พันล้านขวดต่อปี

อินโดรามา เวนเจอร์ส เสร็จสิ้นการเข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET ของบริษัท CarbonLite ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา รองรับงานกว่า 130 ตำแหน่ง และรีไซเคิลขวดพลาสติกกว่า 3 พันล้านขวดต่อปี

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 64 ดีเค อากาวาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจ Combined PET, IOD และ Fibers บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL กล่าวว่า บริษัทเสร็จสิ้นการเข้าซื้อโรงงานของบริษัท CarbonLite Holdings ในรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยโรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองแดลลัส ปัจจุบันใช้ชื่อ Indorama Ventures Sustainable Recycling หรือ IVSR เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (Recycled Polyethylene Terephthalate หรือ rPET) สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ มีกำลังการผลิต 92,000 ตันต่อปี สามารถรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มพลาสติกได้กว่า 3 พันล้านขวดต่อปี และสนับสนุนการจ้างงานโดยตรงกว่า 130 ตำแหน่ง

ทั้งนี้ IVL เป็นผู้ผลิต PET รีไซเคิลสำหรับขวดเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยขยายกำลังการรีไซเคิลของไอวีแลในสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 10,000 ล้านขวดต่อปี สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลของไอวีแอลทั่วโลกเป็น 50,000 ล้านขวดต่อปี หรือ 750,000 ตันต่อปี ภายในปี 2568

ดีเค อากาวาล
ดีเค อากาวาล

สำหรับอินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทย เริ่มเข้าสู่ตลาด PET ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2546 และในปี 2562 ได้เข้าซื้อโรงงานรีไซเคิลในรัฐแอละแบมาและรัฐแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นการนำธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนไปดำเนินงานในสหรัฐฯ

โดยการเข้าซื้อกิจการแห่งใหม่ในรัฐเทกซัสครั้งนี้ จะช่วยให้ไอวีแอลสามารถตอบสนองลูกค้าที่มีความต้องการใช้ PET รีไซเคิลสำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มได้ดียิ่งขึ้น โดยบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำของสหรัฐฯ ได้ร่วมกันริเริ่มโครงการ Every Bottle Back หรือการนำขวดกลับมารีไซเคิล เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ด้วยการตอกย้ำให้ผู้บริโภคตะหนักถึงคุณค่าของขวด PET ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด

ทั้งนี้ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้บรรลุการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ และขอต้อนรับพนักงานใหม่ทุกคนเข้าสู่ครอบครัวอินโดรามา เวนเจอร์ส ตอนนี้เมืองแดลลัสได้เป็นหนึ่งในฐานการรีไซเคิลของไอวีแอลทั่วโลก ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ชีวิตใหม่กับขวดเครื่องดื่มที่ผ่านการบริโภคแล้ว

นอกจากนี้ เรายังมีความยินดีที่ได้สนับสนุนการจ้างงานในธุรกิจสีเขียวกว่า 130 ตำแหน่งสำหรับชุมชนในเมืองแดลลัส Indorama Ventures Sustainable Recycling จะช่วยเติมเต็มธุรกิจ PET และ Fibers ของเราในสหรัฐฯ และการขยายโรงงานรีไซเคิลทั่วโลกจะช่วยให้เราสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ยาช โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมของเราไม่ควรมีขยะพลาสติก การรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มกว่า 10,000 ล้านขวดต่อปีในสหรัฐฯ ช่วยลดจำนวนขยะในสิ่งแวดล้อมและนำกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพลาสติก PET ที่ใช้ในการผลิตขวดเครื่องดื่มนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะ ทำให้สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด ผู้บริโภคต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

ขณะที่แบรนด์ทั่วโลกต่างใช้วัสดุรีไซเคิลมาเป็นส่วนประกอบของขวดบรรจุภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น โรงงานรีไซเคิลแห่งนี้จึงตอบโจทย์ทั้งความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค เรากำลังมอบโครงสร้างพื้นฐานที่สหรัฐฯ ต้องการ เพื่อทำให้เกิดวงจรการใช้วัสดุหมุนเวียน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของไอวีแอลอย่างแบรนด์ Deja™ และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับขวดเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติก PET 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ