บ้านปู โชว์กำไรไตรมาส 1/64 ที่ 1,543 ล้าน เสริมแกร่งด้วย Antifragile

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บ้านปู โชว์กำไรไตรมาส 1/64 ที่ 1,543 ล้าน เสริมแกร่งด้วย Antifragile

Date Time: 15 พ.ค. 2564 11:51 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • บ้านปู เผยผลประกอบการไตรมาส 1/64 กำไรสุทธิกว่า 1,543 ล้านบาท รายได้จากการขายรวม 3,086 ล้านบาท เสริมแกร่งด้วยหลัก Antifragile ต่อยอดความเป็นผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ

Latest


บ้านปู เผยผลประกอบการไตรมาส 1/64 กำไรสุทธิกว่า 1,543 ล้านบาท รายได้จากการขายรวม 3,086 ล้านบาท เสริมแกร่งด้วยหลัก Antifragile ต่อยอดความเป็นผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 64 ที่ผ่านมา บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ Banpu รายงานผลการดำเนินธุรกิจไตรมาส 1/64 มีกำไรสุทธิ 51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,543 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายรวม 736 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 22,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/63

โดยมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย หรือ EBITDA รวม 274 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 8,290 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 3,328 ล้านบาท คิดเป็น 67% จากผลประกอบการที่ดีขึ้นของธุรกิจถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงขึ้น รวมถึงการรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินสกุลบาทต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากหลักการ Antifragile บ้านปูได้ใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางธุรกิจใน 10 ประเทศ ใน 3 กลุ่มธุรกิจหลักเพื่อกระจายความเสี่ยง ในขณะเดียวกันเพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การเป็นบริษัทพลังงานชั้นนำที่หลากหลายในระดับนานาชาติ (International Versatile Energy Provider)

โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 ภายใต้แผนธุรกิจ 5 ปี ฉบับใหม่ สำหรับปี 2564 – 2568 ตามกลยุทธ์ Greener & Smarter ได้เร่งขยายพอร์ตพลังงานสะอาดและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน โดยมีการดำเนินการที่สำคัญคือการลงทุนในโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในญี่ปุ่นซึ่งใช้เทคโนโลยีผสมผสานในการแปลงสถานะถ่านหินให้กลายเป็นก๊าซเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า (Integrated Gasification Combined Cycle: IGCC) เป็นครั้งแรก การขยายธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและจุดบริการยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานทั้งองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

นอกจากนี้ เรายังปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและแนวทางการดำเนินธุรกิจให้สามารถรับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับวิถีใหม่อย่างรวดเร็วมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีของพนักงานใน 10 ประเทศ การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) และการให้ความช่วยเหลือชุมชนในการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 อีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ