ทองคำโลก

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ทองคำโลก

Date Time: 1 ต.ค. 2563 05:01 น.

Summary

  • ช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งสูงเป็นสถิติใหม่ แตะที่เหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั่วโลกเกิดภาวะตื่นทอง คนมีทองคำในมือยิ้มร่า เอาออกมาขายทำกำไรกันยกใหญ่ คนไม่มียิ้มแหยๆ

Latest

กำไรสุทธิ บจ. 9 เดือนแรก วูบ 5.4% เหลือ 6.86 แสนล้าน “กลุ่มพลังงาน” ร่วงจากราคาน้ำมัน

ช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งสูงเป็นสถิติใหม่ แตะที่เหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั่วโลกเกิดภาวะตื่นทอง คนมีทองคำในมือยิ้มร่า เอาออกมาขายทำกำไรกันยกใหญ่ คนไม่มียิ้มแหยๆ

นักวิเคราะห์ไม่แปลกใจ ทุกครั้งโลกเผชิญวิกฤติใหญ่ๆกระทบเศรษฐกิจ ราคาทองเป็นต้องขึ้นเสมอ นักลงทุนเห็นทองคำเป็นสินทรัพย์ ปลอดภัย พึ่งได้ในยามเศรษฐกิจผันผวน

คำถามสำคัญคือ แหล่งทองคำโลกจะมีให้ขุดอยู่กี่มากน้อย

ศูนย์สำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (USGS) ระบุว่า ปัจจุบันสต๊อกทองคำใต้ดินทั่วโลก คาดว่าเหลืออยู่ประมาณ 50,000 ตัน ขณะที่ “สภาทองคำโลก” (World Gold Council) ระบุว่า ปริมาณทองคำถูกขุดขึ้นมาจากเหมืองทั่วโลกเมื่อปี 2562 อยู่ที่ 3,531 ตัน (น้อยกว่ายอดทองคำจากเหมืองของปีก่อนหน้านั้น 1%)

แหล่งทองคำเดี่ยวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อยู่ที่ลุ่มน้ำวิทวอเทอร์สแลนด์ ใกล้เมืองโยฮันเนสเบิร์กของแอฟริกาใต้ คิดเป็นประมาณ 30% ของปริมาณทองคำรวมที่ขุดได้จากเหมืองทองทั่วโลก

ส่วนแหล่งทองคำขนาดใหญ่อื่นๆ รองลงมามีรวมทั้งเหมืองเอ็มโปเน็ง (แอฟริกาใต้) เหมืองซูเปอร์ พิท และนิวมองต์ บ็อดดิงตัน (ออสเตรเลีย) เมืองแกรสเบอร์ก (อินโดนีเซีย) และเหมืองหลายแห่งที่รัฐเนวาดา สหรัฐฯ

ว่ากันระดับประเทศ จีนเป็นประเทศทำเหมืองทองรายใหญ่ที่สุดของโลก ตามด้วย แคนาดา รัสเซียและเปรู ส่วนบริษัททองคำรายใหญ่ของโลกคือ เหมืองทองเนวาดาที่บริษัทแบร์ริค โกลด์ ถือหุ้นใหญ่ ผลิตทองคำปีละประมาณ 3.5 ล้านออนซ์

เหมืองทองใหม่ยังพบอยู่เรื่อยๆ แต่แหล่งทองคำปริมาณมากๆเริ่มหายากทุกที ทองคำส่วนใหญ่ของโลกในปัจจุบันจึงขุดได้จากเหมืองทองเก่าอายุใช้งานนับสิบๆปี

ใครห่วงทองหมดโลก แหล่งอื่นยังมีอยู่ ทั้งดวงจันทร์ ขั้วโลกใต้ และพื้นมหาสมุทร เพียงแต่ไม่คุ้มทุนขุด

สุดท้าย ถึงทำเหมืองทองไม่ได้จริงๆ ทองก็ไม่มีวันหมดโลก เพราะเป็นธาตุโลหะมีค่าที่รีไซเคิลได้.

เกรียงศักดิ์ จุนโนนยางค์


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ