ตลาดหุ้นร่วงทั่วเอเชีย หวั่นสหรัฐฯ เศรษฐกิจถดถอย  ภาคการผลิตหดตัว 5 เดือนรวด จับตาเฟดลดดอกเบี้ย

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ตลาดหุ้นร่วงทั่วเอเชีย หวั่นสหรัฐฯ เศรษฐกิจถดถอย ภาคการผลิตหดตัว 5 เดือนรวด จับตาเฟดลดดอกเบี้ย

Date Time: 4 ก.ย. 2567 14:10 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • เช้านี้หุ้นเอเชียร่วงยกแผง ตามทิศทางหุ้นสหรัฐฯ ที่ดิ่งหนักในวันอังคาร(3 ก.ย.) หลังรายงานดัชนีภาคการผลิต (ISM) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 นักลงทุนหวั่นสหรัฐฯ ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย กดดันเฟดพิจารณาดอกเบี้ย ในการประชุม 17-18 ก.ย.นี้

หุ้นสหรัฐฯ ดิ่งหนัก ฉุดหุ้นเอเชียร่วงยกแผง หลังสหรัฐฯ รายงานดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เพิ่มความกังวลของตลาดที่มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะถดถอย

โดยช่วงเช้าวันนี้ (4 ก.ย. 2567) ตลาดหุ้นเอเชียร่วงหนัก นำโดยหุ้นญี่ปุ่นและไต้หวัน โดยดัชนี Nikkei 225 ลดลงมากถึง 4% หรือ 1,500 จุด ตามมาด้วยดัชนี TWII ของไต้หวันที่ปรับลดลงเกือบ 4% ขณะที่ดัชนี MSCI All Country Asia Pacific Ex Japan มูลค่าลดลง 1.6% ทั้งนี้การเทขายหุ้นเอเชียเกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ รายงานดัชนีภาคการผลิต (ISM) เดือนสิงหาคมที่ขยายตัวเพียง 47.2 แม้จะปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ก็ต่ำกว่ามาตรวัดที่ระดับ 50 โดยหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทำให้นักลงทุนกังวลเพิ่มขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของเฟดในเดือนนี้ ส่งผลให้ดัชนีหุ้นหลักของสหรัฐ S&P 500, Nasdaq และ Dow Jones เผชิญกับการลดลงรายวันมากที่สุดตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม

นำโดยหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี Nvidia ที่หุ้นร่วงลงมากถึง 9.5% ภายในวันเดียว ทำให้สูญเสียมูลค่าตลาดมากถึง 2.79 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ มาสู่ระดับ 2.65 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนว่านักลงทุนเริ่มมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับกระแสความนิยมของ AI หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นให้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ตามสถิติแล้วเดือนกันยายนมักเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทำผลตอบแทนแย่ที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี ค.ศ. 1950

นอกจากนี้นักลงทุนยังจับตารายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในวันศุกร์นี้ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการพิจารณาลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมวันที่ 17-18 กันยายนนี้

อ้างอิง

ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์