แล้วแต่จะคิด ชีวิตคนละแบบ Gen Z เลือกเข้าสังคม ใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่ฟุ่มเฟือยตามเพื่อน

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แล้วแต่จะคิด ชีวิตคนละแบบ Gen Z เลือกเข้าสังคม ใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่ฟุ่มเฟือยตามเพื่อน

Date Time: 30 ก.ค. 2567 11:11 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • Bank of America เผยผลสำรวจ 30% ของคน Gen Z ตั้งใจออมเงิน แต่ไม่มีเงินให้ออม ค่าครองชีพสูงอุปสรรคอันดับ 1 ต้องพึ่งเงินพ่อแม่ช่วยเบาภาระ หันมาลดฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่อายเพื่อน

เนื่องด้วย Gen Z เติบโตและใช้ชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับโลกออนไลน์ ทำให้มีการคาดการณ์ว่าพวกเขาจะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอนาคต และจะเป็นผู้ขับเคลื่อนภูมิทัศน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม

แต่หลายคนก็ยังมีภาพจำว่า กลุ่มคน Gen Z เป็นนัก "ละลายทรัพย์ตัวยง" ชอบใช้จ่ายเพื่อความสุขชั่วคราว ทำให้แม้จะหาเงินเก่ง แต่ก็มักจะตกม้าตายเพราะไม่มี "วินัยด้านการเงิน" แต่ภาพจำนี้อาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะข้อมูลล่าสุดระบุว่าคนกลุ่มนี้ มีจุดยืนทางการเงินมากกว่าที่คิด


Bank of America (BofA) ได้เผยแพร่รายงาน 2024, The State of Gen Z’s Financial Health ซึ่งทำการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงินของคน Gen Z พบว่า หนึ่งในสาม (30%) ของคน Gen Z มีความต้องการออมเงิน แต่มีเงินไม่พอให้ออม โดยกว่า 57% ระบุว่าไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน เพียงพอกับค่าใช้จ่ายสามเดือน และมีเพียง 18% เท่านั้นที่สามารถเก็บเงินสำรองฉุกเฉินได้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้สาเหตุหลักที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเก็บเงินของคน Gen Z คือ ค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าเช่าที่อยู่อาศัย 64% ของ Gen Z ที่ต้องจ่ายค่าเช่า กล่าวว่าเงินเดือนของพวกเขากว่า 30% ต้องหมดไปกับค่าเช่าบ้าน นอกจากนี้พวกเขายังมองว่าตัวเองมีรายได้ไม่ดี เนื่องจากไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมคนกลุ่มนี้ ถึงรู้สึกประสบความสำเร็จยากกว่ารุ่นพ่อแม่ โดย 32% ของคน Gen Z มองว่า เมื่อเปรียบเทียบกับยุคพ่อแม่ พวกเขาล้าหลังในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน

Gen Z แบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว ต้องพึ่งเงินพ่อแม่

ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ทำให้คน Gen Z แบกภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ไหว โดย 54% กล่าวว่า พวกเขาได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว (46%) รัฐบาล (9%) หรือเพื่อน (3%) และถึงแม้จะไม่ได้อยู่สถานะนักเรียนแล้ว Gen Z กว่า 37% ยังต้องพึ่งความช่วยเหลือทางการเงินจากครอบครัว ทั้งนี้คนที่ต้องพึ่งครอบครัว 44% ระบุว่า พวกเขาได้รับเงินช่วยเหลือ น้อยกว่า 500 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ 32% ได้รับเงินช่วยเหลือ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้จ่ายเงินดังกล่าวไปกับ

  • สินค้าอุปโภคบริโภค (57%)
  • ค่าเช่า/สาธารณูปโภค (53%)
  • ค่าโทรศัพท์ (53%)
  • ประกันสุขภาพ (49%)


Gen Z มีจุดยืน ไม่ใช้จ่ายตามเพื่อน

แม้จะต้องเจอความท้าทายรอบด้าน จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่ Gen Z ส่วนใหญ่พร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อความอยู่รอด เริ่มจากการบริหารพื้นฐานทางการเงิน โดย 70% พร้อมที่จะจัดการค่าใช้จ่ายรายวัน และ 70% หันมาใช้จ่ายภายใต้งบที่มี รวมถึงอีก 66% ต้องการสร้างและบริหารเครดิตอย่างชาญฉลาด ตัวเลขเหล่านี้ยังค่อนข้างคงที่ตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งบ่งชี้ถึงระดับความรู้ทางการเงินที่สอดคล้องกันในกลุ่มคน Gen Z

นอกจากนี้เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น สองในสาม (67%) กำลังปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ การปรับเปลี่ยนที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • ลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน (43%)
  • เลื่อนนัดเพื่อน (27%)
  • ช็อปปิ้งสินค้าราคาประหยัด (24%)
  • ตั้งงบใช้จ่าย (21%)

ที่น่าตกใจก็คือ แม้กลุ่มคน Gen Z จะแคร์ภาพลักษณ์และสายตาของคนรอบข้าง แต่กว่า 38% สบายใจที่จะปฏิเสธกิจกรรมทางสังคมและยอมรับข้อจํากัดทางการเงินของตัวเอง การเปิดกว้างเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ส่งผลให้มากกว่าครึ่งหนึ่ง (63%) ของ Gen Z กล่าวว่าพวกเขาไม่รู้สึกกดดันจากการใช้จ่ายของเพื่อน

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ