คนเอเชียย้ายถิ่น ทุบสถิติ 6.9 ล้าน ฟิลิปปินส์นำทีม เป็นแรงงานใน “ประเทศพัฒนาแล้ว”

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คนเอเชียย้ายถิ่น ทุบสถิติ 6.9 ล้าน ฟิลิปปินส์นำทีม เป็นแรงงานใน “ประเทศพัฒนาแล้ว”

Date Time: 27 มิ.ย. 2567 18:12 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • เมื่ออยู่ในประเทศแล้วไม่รุ่ง คนเอเชียย้ายถิ่น ทุบสถิติ 6.9 ล้านคน ในปี 2566 ฟิลิปปินส์นำทีม เป็นแรงงานใน “ประเทศพัฒนาแล้ว” ตะวันออกกลาง มาเลเซีย จุดหมายยอดฮิตแรงงานข้ามชาติ ดันยอดส่งเงินกลับเอเชียแปซิฟิกพุ่ง 3.7 แสนล้านดอลลาร์

เมื่อโอกาสที่จะมีชีวิตดีๆ ไม่ได้มีไว้สำหรับคนทุกคน โดยเฉพาะประเทศโลกที่ 3 ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเอเชีย  ต้องเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำสูง ค่าแรงต่ำ เนื่องจากต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ การจะมีชีวิตพออยู่พอกิน ก็กลายเป็นเรื่องเกินเอื้อมไปเสียแล้ว ล่าสุดจากการรวบรวมข้อมูลโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 

พบว่า ในปี 2566 จำนวนชาวเอเชียอพยพใหม่ทุบสถิติ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 6.93 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 5.2 ล้านคน ในปี 2565 นำโดยฟิลิปปินส์และ บังกลาเทศ ทั้งนี้จำนวนคนเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ADB มีสาเหตุมาจากการฟื้นตัวการย้ายถิ่นของแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น ประชากรวัยทำงานที่ลดลง ในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ส่งผลให้ในปี 2566 การส่งเงินกลับของแรงงาน ข้ามชาติไปยังเอเชียแปซิฟิกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ประมาณ 3.7 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 43% ของการส่งเงินกลับทั่วโลก 


โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้อพยพมากที่สุด 2.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 93% จากปี 2565 และคิดเป็น 1 ใน 3 ของแรงงานอพยพทั้งหมดในเอเชีย ตามมาด้วยบังกลาเทศ เป็นอันดับ 2 ที่ 1.3 ล้านคน และอันดับ 3 ปากีสถาน 860,000 คน นอกจากนี้ประมาณ 2 ใน 3

ของแรงงานข้ามชาติจากฟิลิปปินส์เป็นผู้หญิง ซึ่งหลายคนทำงานเป็นแม่บ้าน คนทำความสะอาด พยาบาล และผู้ดูแล โดยมีจุดหมายปลายทาง อยู่ในประเทศตะวันออกกลาง ฮ่องกง และสิงคโปร์ ขณะที่ผู้อพยพชาวบังกลาเทศและปากีสถานจำนวนมาก นิยมทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 


ส่วนอินเดียยังคงครองสัดส่วนมีผู้อพยพที่ไปทำงานในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมากที่สุด โดยมีจุดเด่นจากการเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่พูดภาษาอังกฤษได้ เป็นที่ต้องการสูง นอกจากนี้ คนอินเดียยังอพยพไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลียมากที่สุดในปี 2566 


ในแง่ของจุดหมายปลายทาง ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้อพยพทั้งหมด นิยมไปทำงานในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย มาเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิม มีแรงงานขาเข้าเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 760,000 คน 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงโควิด-19 จำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานใหม่จากเอเชียลดลง หลังจากพุ่งสูงสุดที่ 6.1 ล้านคนในปี 2558 และ 2559 นับตั้งแต่นั้นมาก็ฟื้นตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 34% ในปีที่แล้ว และสูงกว่าสถิติเดิมประมาณ 800,000 คน

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์