จีน vs สหรัฐอเมริกา เทียบ 2 มหาอำนาจ ใครมีอิทธิพลแค่ไหนกับเศรษฐกิจอาเซียน?

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

จีน vs สหรัฐอเมริกา เทียบ 2 มหาอำนาจ ใครมีอิทธิพลแค่ไหนกับเศรษฐกิจอาเซียน?

Date Time: 14 มิ.ย. 2567 22:02 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • ผลสำรวจจากประชาชนใน 10 ประเทศอาเซียน จำนวน 1,994 คน “ประเทศใดที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด?” พบว่า จีนและสหรัฐอเมริกา คือ 2 ประเทศมหาอำนาจที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้กับ 10 ประเทศอาเซียน

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความร่วมมือกันของ 10 ประเทศอาเซียน นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง ด้วยการเติบโตทางธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทำให้มีความสนใจเข้ามาลงทุนจากประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา ที่ถูกมองว่ามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อประเทศต่างๆ ในอาเซียน

จึงเป็นที่มาของการสำรวจของ ASEAN Studies Centre at ISEAS โดย Yusof Ishak Institute ทำการสำรวจกับประชาชนใน 10 ประเทศอาเซียน จำนวน 1,994 คน เพื่อสอบถามความคิดเห็นว่าประเทศใดมีบทบาทและสร้างผลกระทบให้กับ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด

และจากคำถามที่ว่า “ประเทศใดที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด?” พบว่า จีนและสหรัฐอเมริกาเข้ามาสร้างผลกระทบเป็นลำดับต้นๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ผลสำรวจจะพบว่า ประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา สองประเทศมหาอำนาจมีบทบาทอย่างมากในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศจีนจะเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในทุกๆ ประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาวและไทย ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก แต่ยังคงมีอิทธิพลในฟิลิปปินส์มากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

นอกจาก 2 ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกแล้ว ยังมีภูมิภาคและประเทศอื่นๆ ที่มีผลทางเศรษฐกิจต่อประเทศอาเซียนเช่นกัน อย่างเช่น อินเดีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และอาเซียนเอง

นอกจากนี้ มีแบบสอบถามถึงประเด็นที่ว่า หากประเทศจำเป็นที่จะต้องเลือกข้างระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ผลสำรวจพบว่า อัตราส่วนที่คนในอาเซียนจะเลือก จีน เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 38.9% มาเลือกจีนเป็น 50.5% ในปี 2024 ในขณะที่สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนลดลงจาด 61.1% ในปี 2023 มาเหลือ 49.5% ในปี 2024

อย่างไรก็ตาม มีผู้ทำแบบสำรวจเกือบครึ่ง หรือ 46.8% มองว่า ประเทศอาเซียนควรจะรักษาความยืดหยุ่นและความร่วมมือ เพื่อป้องกันการเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นของ 2 ยักษ์ใหญ่อย่างจีนและสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง: ISEAS


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์