“หนี้โลก” พุ่งแรงเป็นประวัติการณ์ 315 ล้านล้านดอลลาร์ จีน อินเดีย ดันหนี้ประเทศ EM 257% ต่อ GDP

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“หนี้โลก” พุ่งแรงเป็นประวัติการณ์ 315 ล้านล้านดอลลาร์ จีน อินเดีย ดันหนี้ประเทศ EM 257% ต่อ GDP

Date Time: 31 พ.ค. 2567 14:06 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • Institute of International Finance เผย ไตรมาส 1/2567 หนี้โลกพุ่งแรงเป็นประวัติการณ์ 315 ล้านล้านดอลลาร์ จีน อินเดีย ดันหนี้ประเทศกำลังพัฒนา ทะลุ 257% ต่อ GDP เงินเฟ้อดื้อ กดดันเฟดไม่ลดดอกเบี้ย เสี่ยงทำรัฐบาลทั่วโลกขาดดุลเพิ่ม 5.3 ล้านล้านดอลลาร์

Institute of International Finance (IIF) สมาคมเครือข่ายการเงินระดับโลก ที่มุ่งวิจัยเชิงนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเงิน

เปิดเผยรายงานสถานการณ์หนี้โลก พบว่า ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 ทั่วโลกก่อหนี้เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านล้านล้านดอลลาร์ ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ทำให้ปัจจุบันหนี้ปรับสูงขึ้นเป็น 315 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมีสัดส่วน 333% ต่อ GDP ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์


โดยได้รับแรงหนุนหลักจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่มีหนี้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 105 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 257% ต่อ GDP จากระดับ 55 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสิบปีก่อน ทั้งนี้หนี้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มาจากการก่อหนี้ในประเทศ จีน อินเดีย และเม็กซิโก สวนทางกับแนวโน้มการก่อหนี้ใน เกาหลี ไทย และบราซิลที่มูลค่าหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่การเติบโตทางเศรษฐกิจถึงจุดอิ่มตัว พบว่า หนี้ยังอยู่ในระดับเสถียรภาพ โดยได้รับแรงหนุนจากการลดลงของหนี้ภาคครัวเรือน และหนี้ภาคธุรกิจที่ช่วยชดเชยการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลและสถาบันการเงิน ทั้งนี้แม้ระดับหนี้จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นหลัก ตามมาด้วยไอร์แลนด์และแคนาดา ในขณะสวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนีก่อหนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่าเศรษฐกิจโลกในะระยะข้างหน้ามีแนวโน้มเป็นบวก แต่ปัญหาเงินเฟ้อที่ดื้อดึง และการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่กดดันต้นทุนการกู้ยืมทั่วโลก ทำให้ในระยะข้างหน้ารัฐบาลส่วนใหญ่ ยังมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤตการณ์โควิด-19 เนื่องจากต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการอุดหนุนค่าครองชีพประชาชน และคาดว่าการขาดดุลงบประมาณดังกล่าวจะมีมูลค่าประมาณ 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ ของมูลค่าหนี้ทั้งหมดในปีนี้

อ้างอิง

อ่านข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์