ทองคำทุบสถิติใหม่ ทะลุ 2,400 ดอลลาร์ สูงสุดในประวัติศาสตร์ เงินเฟ้อชะลอ หวังเฟดลดดอกเบี้ย ก.ย

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ทองคำทุบสถิติใหม่ ทะลุ 2,400 ดอลลาร์ สูงสุดในประวัติศาสตร์ เงินเฟ้อชะลอ หวังเฟดลดดอกเบี้ย ก.ย

Date Time: 20 พ.ค. 2567 14:19 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ราคาทองคำทุบสถิติใหม่ พุ่งสู่ระดับ 2,440.59 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หลังเงินเฟ้อชะลอตัวลงกว่าคาด นักลงทุนมีความหวัง เฟดเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก เดือนกันยายนนี้

ราคาทองคำทุบสถิติ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับแรงหนุน จากตลาดที่คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) มีแนวโน้ม ที่จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วๆ นี้ พร้อมกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง 


โดยในช่วงเช้าของการซื้อขายในเอเชีย ราคาทองคำสปอตพุ่งสู่ระดับ 2,440.59 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.1% แซงหน้าสถิติระหว่างวัน ก่อนหน้านี้ ในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของตลาดว่า เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ โดยนักเก็งกำไร คาดว่ามีโอกาส 65% ที่เฟดจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายน


เนื่องจากเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง จากข้อมูลล่าในเดือนเมษายน พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เพิ่มขึ้น 3.4%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ YOY จากเดือนมีนาคม ที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.5% ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 3.6% (YOY) ชะลอตัวลงจาก 3.8% ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ส่งผลให้สัปดาห์ที่แล้วเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ CPI  เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ และเป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ อัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด


ประกอบกับเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ของประธานาธิบดี อิบราฮิม ราอีซี ของอิหร่านที่ประสบเหตุตก ระหว่างเดินทางกลับ จากภารกิจ บริเวณพรมแดนอาร์เซอร์ไบจานในวันนี้ โดยความคืบหน้าล่าสุดไม่พบผู้รอดชีวิต

ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดให้กับสถานการณ์สงครามในตะวันออกกลาง ปัจจัยดังกล่าวล้วนสนับสนุนให้นักลงทุน หนีความผันผวนจากตลาดเงิน รักษาความมั่งคั่งด้วยการลงทุนในทองคำมากขึ้น ขณะที่ราคาเงิน เพิ่มขึ้น 2.5% สู่ระดับ 32.28% ดอลลาร์ต่อออนซ์ สูงสุดในรอบกว่า 11 ปี 

อ้างอิง

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์