ตลาดคาด BOJ คงอัตราดอกเบี้ย แม้เยนอ่อนค่า ในรอบ 34 ปี จับตารัฐบาลเข้าแทรกแซง

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ตลาดคาด BOJ คงอัตราดอกเบี้ย แม้เยนอ่อนค่า ในรอบ 34 ปี จับตารัฐบาลเข้าแทรกแซง

Date Time: 25 เม.ย. 2567 14:59 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • เงินเยนอ่อนค่าสุด ในรอบ 34 ปี ทะลุ 155 เยนต่อดอลลาร์ กดดันรัฐบาลแทรกแซงค่าเงิน ตลาดคาด BOJ คงอัตราดอกเบี้ยวันศุกร์นี้

เมื่อคืนวานนี้ (24 เม.ย. 2567) เงินเยนอ่อนค่าลงสู่กรอบ 155 เยนต่อดอลลาร์ ต่ำสุดในรอบ 34 ปี ที่ระดับ 155.37 เยนต่อดอลลาร์ เพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงค่าเงิน


ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงคลังญี่ปุ่นได้ออกมาเน้นย้ำหลายครั้งถึงความจำเป็นที่จะเข้ามาแทรกแซงค่าเงิน โดยนานมา ซาโตะ คันดะ (Masato Kanda) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลกำลังจับตาสถานการณ์ ค่าเงินอย่างเร่งด่วน และพร้อมดำเนินการด้วยมาตรการที่เหมาะสม หากค่าเงินมีความผันผวนมากเกินไป


อย่างไรก็รัฐบาลไม่ได้กำหนดกรอบค่าเงินว่าต้องอยู่ที่ระดับใดถึงจะเข้ามาแทรกแซง แต่พิจารณาจากทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหวเมื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงในตลาดสกุลเงิน 


ทั้งนี้ข้อมูลจาก Depository Trust & Clearing Corporation (DTCC) ระบุว่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากแรงเทขายคู่สัญญาระหว่าง สกุลเงินเยน-ดอลลาร์สหรัฐ และเงินเยน-ยูโร รวมถึงสัญญาสิทธิล่วงหน้า (Options) มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะหมดอายุในหนึ่งเดือน โดยตั้งแต่ต้นปีเงินเยนอ่อนค่าลงกว่า 9% และกลายเป็นสกุลที่มีผลดำเนินการที่แย่ที่สุดในเอเชีย เมื่อเทียบกับกลุ่ม G10 แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยกเลิกนโยบายดอกเบี้ยติดลบ และขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 17 ปี เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันค่าเงินเยน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อดุลการค้าของญี่ปุ่น


ในการประชุมนโยบายการเงินระหว่างวันที่ 25-26 เม.ย.นี้ ตลาดส่วนใหญ่คาดว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0-0.1% อ้างอิงผลสำรวจของ Quick ซึ่งระบุว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 22% มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ส่วนอีก 18% คาดว่าจะเกิดในเดือนกันยายน และมีเพียง 2% เท่านั้นที่มองว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้


สาเหตุที่ตลาดเทน้ำหนักไปที่การคงอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก BOJ มีท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อ เงินเฟ้อเคลื่อนไหวสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% โดยพิจารณาจากการส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภค หลังธุรกิจขนาดเล็กปรับขึ้นค่าแรง อีกทั้งปัจจุบัน BOJ มองว่าเงินเยนที่อ่อนค่าไม่ได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น


"เราต้องการยืนยันว่าวัฏจักรระหว่างการเติบโตของค่าจ้างและราคากําลังแข็งแกร่งขึ้น" แหล่งข่าวจาก BOJ กล่าว

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์