บริษัทในตลาดหุ้นญี่ปุ่น แตกพาร์หุ้นเพิ่มขึ้น 60% หวังใช้นักลงทุนรายย่อยดัน “มูลค่า”

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บริษัทในตลาดหุ้นญี่ปุ่น แตกพาร์หุ้นเพิ่มขึ้น 60% หวังใช้นักลงทุนรายย่อยดัน “มูลค่า”

Date Time: 2 เม.ย. 2567 16:56 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • บริษัทในตลาดหุ้นญี่ปุ่น แตกพาร์หุ้นเพิ่มขึ้น 60% หวังดึงดูดนักลงทุนรายย่อย ดันราคาหุ้น รับกระแสโครงการลงทุนปลอดภาษี NISA ของรัฐบาล

สำนักข่าว Nikkei รายงานว่า ณ สิ้นสุดงบประมาณปี 2566 มีบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมด 191 แห่ง ประกาศแตกพาร์หุ้น เพิ่มขึ้นประมาณ 60% จากปีที่แล้ว และถือเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว กำหนดหน่วยซื้อขายขั้นต่ำ 100 หุ้น ในปี 2561 เพื่อเป็นการลดอุปสรรค ให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงการลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น


โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา มีบริษัทญี่ปุ่นดําเนินการแตกพาร์หุ้นแล้วกว่า 62 ซึ่งถือเป็นจำนวนมากที่สุด ในช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณ ในรอบ 10 ปี โดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries, Suzuki Motor และ Mitsui Fudosan ดำเนินการแตกพาร์หุ้นเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับบริษัท Fujifilm Holdings ที่มีการดำเนินการแตกพาร์หุ้นในรอบ 30 ปี


ทั้งนี้กระแสการแตกพาร์หุ้น เป็นผลมาจาการที่บริษัทต่างๆ ต้องการใช้ประโยชน์ เพื่อดึงดูดผู้ถือหุ้นหน้าใหม่ในระยะยาว จากโครงการ NISA ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุน ให้คนญี่ปุ่นหันมาลงทุนในสินทรัพย์ เพื่อการออมระยะยาว ซึ่งจะทำการยกเว้นภาษีกำไรและเงินปันผลที่ได้จากการลงทุน โดยการแตกพาร์หุ้นจะทำให้ราคาหุ้นลดลง นักลงทุนรายย่อยจึงสามารถลงทุนได้ง่ายขึ้น

แม้ว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะทำ All time high ตั้งแต่ปี 2565  แต่ค่าเฉลี่ยเงิน ลงทุนขั้นต่ำในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวกลับลดลง มาอยู่ที่ 300,000 เยน ซึ่งต่ำกว่า ที่ตลาดคาดที่ 500,000 เยน ซึ่งน้อยกว่าหนึ่งในหกของค่าเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2532 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดที่ดัชนีหุ้น Nikkei ทำระดับสูงสุดตลอดกาล


อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพง เมื่อพิจารณาจากจำนวนเงินขั้นต่ำที่ใช้ในการลงทุน โดยหุ้นบางตัวต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำถึง 25,000 ดอลลาร์ เช่น หุ้นของบริษัท Tokyo Electron ในขณะที่หุ้นนางฟ้าของสหรัฐฯ เช่น Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google, Amazon และ Apple สามารถซื้อได้ในราคาต่ำกว่า 200 ดอลลาร์ 


ในช่วงที่ผ่านมา การแตกพาร์หุ้นได้กระตุ้นการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย เนื่องจากหุ้นมีราคาถูกลง ในบรรดาบริษัท 138 แห่ง ที่มีการแตกพาร์หุ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2565-1 มกราคม พบว่า ปริมาณการซื้อขายรายวัน ในช่วงไตรมาสแรกของปี สูงถึง 7 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และประมาณ 70% ของบริษัทที่แตกพาร์หุ้น มีมูลค่าการซื้อขายรายวันเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การฟื้นตัวของตลาด ในวงกว้าง โดยตลาด Prime Market ซึ่งประกอบด้วย บริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว มีมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 ล้านล้านเยนในบางวัน 


นอกจากนี้ยังช่วยดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่ ให้กับบริษัทต่างๆ เช่น Nippon Telegraph and Telephone Corporation หรือ NTT บริษัทโทรคมนาคม ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 1.57 ล้านคน ณ เดือนธันวาคมปี 2566 เพิ่มขึ้น 70% จากเดือนมีนาคม โดยผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปี

อ้างอิง

อ่านข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์