เวียดนาม กอดตำแหน่งอนาคต “โรงงานโลก“ ขึ้นแท่นรวยเร็วที่สุดในโลก ในอีก 10 ปีข้างหน้า

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เวียดนาม กอดตำแหน่งอนาคต “โรงงานโลก“ ขึ้นแท่นรวยเร็วที่สุดในโลก ในอีก 10 ปีข้างหน้า

Date Time: 21 ก.พ. 2567 13:46 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • เวียดนาม เตรียมขึ้นแท่นเป็นประเทศที่ความมั่งคั่งเติบโตเร็วที่สุดในโลก ในอีก 10 ปีข้างหน้าหากสามารถรักษาสถานะการเป็น “โรงงานโลก"

รายงานของ New World Wealth และ Henley & Partners ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อย้ายถิ่นฐานและขอสัญชาติชั้นนำในระดับนานาชาติ เปิดเผยว่า หากเวียดนามสามารถรักษาสถานะการเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก จะทำให้ในอีก 10 ปีข้างหน้า เวียดนามจะกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งเติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยคาดว่า มูลค่าความมั่งคั่งจะพุ่งสูงขึ้นถึง 125% 


ซึ่งจะเป็นการเติบโตของความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแง่ของรายได้ต่อหัวประชากร (GDP Per Capita) และจำนวนเศรษฐีที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ


ทั้งนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว GDP ต่อหัวของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 2,190 ดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่ามาอยู่ที่ 4,100 ดอลลาร์ ตามข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank)


ปัจจุบันเวียดนาม ถูกจับตามองในฐานะประเทศ safe haven ที่พักเงินสำหรับเหล่าเศรษฐีทั่วโลก เพราะค่อนข้างมีความปลอดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยมีเศรษฐีเงินล้านอาศัยอยู่ 19,400 คน และเศรษฐีระดับร้อยล้าน 58 คน ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ดึงดูดให้บริษัทต่างๆ เข้ามาจัดตั้งฐานการผลิตในประเทศมากขึ้น


ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เวียดนามถูกจับตามองว่าจะกลายเป็นโรงงานผลิตของโลก เหมือนกับจีน เนื่องจากได้รับผลประโยชน์จากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติจำนวนมาก กระจายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ "จีนบวกหนึ่ง (China+1)” ซึ่งเป็นการสร้างความหลากหลายด้านห่วงโซ่อุปทาน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากจีน ทำให้ตั้งแต่นั้นมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยในปี 2566 FDI เติบโตขึ้น 32% จากปีก่อนหน้า


คุณภาพแรงงาน ดีมานด์โลก ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง


แม้เวียดนามจะเต็มไปด้วยแรงงานวัยหนุ่มสาว ทำให้ต้นทุนค่าแรงที่ถูก และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ขวางการเติบโต คือ คุณภาพแรงงานที่ยังต้องได้รับการอบรมทักษะ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของกิจกรรมการผลิตที่ต้องใช้ทักษะเข้มข้นและซับซ้อน


นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภค ในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกของเวียดนาม รวมถึงค่าเงินที่อ่อนค่าอย่างฉับพลัน ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจฉุดรั้งการเติบโตของประเทศเช่นกัน

อ้างอิง

อ่านข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์