คนอเมริกันกว่า 12 ล้านคน รายได้กว่าครึ่งหมดไปกับค่าเช่าบ้าน หนี้พุ่ง เริ่มหาเงินจ่ายไม่ไหว

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนอเมริกันกว่า 12 ล้านคน รายได้กว่าครึ่งหมดไปกับค่าเช่าบ้าน หนี้พุ่ง เริ่มหาเงินจ่ายไม่ไหว

Date Time: 26 ม.ค. 2567 17:40 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard เผย คนอเมริกันกว่า 12 ล้านคน หมดรายได้กว่าครึ่ง ไปกับค่าเช่าบ้าน ต้องเลือกระหว่างมีที่อยู่หรือคุณภาพชีวิตที่ดี ค่าครองชีพสูงซ้ำเติม เริ่มหาเงินจ่ายไม่ไหว

Latest


ข้อมูลจากรายงาน Joint Center for Housing Studies ของมหาวิทยาลัย Harvard พบว่า ในปี 2565 ครึ่งหนึ่งของผู้เช่าทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ใช้เงินมากกว่า 30% ของรายได้ไปกับค่าเช่าและค่าสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

จากการวิเคราะห์ข้อมูลสํามะโนประชากรปี 2565 พบว่า จำนวนผู้เช่าทั้งหมด 22.4 ล้านครัวเรือนในสหรัฐฯ มีภาระค่าใช้จ่าย โดยผู้เช่า 12.1 ล้านครัวเรือน มีการใช้จ่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ไปกับอยู่อาศัย ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 


ต้นทุนที่อยู่อาศัยที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้เช่าเป็นวงกว้าง ตั้งแต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยไปจนถึงครัวเรือนที่มีรายได้สูง


โดยผู้เช่าที่มีรายได้ปานกลางมี ซึ่งมีรายได้ระหว่าง 30,000-74,999 ดอลลาร์ เป็นกลุ่มที่มีภาระค่าใช้จ่ายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ปี 2564 สอดคล้องกับจำนวนคนไร้บ้านที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 653,100 คน ณ เดือน ม.ค 2566


โดยปัจจัยที่ผลักดันให้ค่าเช่าที่อยู่อาศัยพุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน เป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากช่วงโควิด-19 ที่ค่าเช่าที่อยู่อาศัยตามเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2 หลัก เนื่องจากเทรนด์การทำงานทางไกล ทำให้คนอเมริกันนิยมย้ายที่อยู่มากขึ้น 


แม้ว่าปัจจุบันความร้อนแรงของตลาดเช่าที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวลง โดยจำนวนความต้องการเช่าลดลง 1% ในปี 2566 แต่จำนวนดังกล่าวก็ยังมากกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ถึง 19% ตามข้อมูลของ Apartment List


Cea Weaver ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์ Housing Justice for All เปิดเผยกับสำนักข่าว The New York Times ว่า

"สถานการณ์ปัจจุบัน มันแย่กว่าที่เคยเป็นมาอย่างแน่นอน คนชนชั้นกลาง คนชั้นกลางตอนล่าง คนชนชั้นแรงงาน ตอนนี้พวกเขาไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเช่าได้"


ในรายงานระบุเพิ่มเติมว่า งบค่ากินอยู่ที่จำกัด บังคับให้ผู้เช่าที่มีความเปราะบางทางการเงิน ต้องตัดสินใจเลือกระหว่างที่อาศัยและคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ โดยผู้เช่าที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง ใช้รายได้จ่ายไปกับค่าอาหารและการดูแลสุขภาพน้อยกว่าผู้เช่าที่ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายอย่างมีนัยสําคัญ

อ้างอิง

อ่านข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ