ธุรกิจผูกขาด ดัน “มหาเศรษฐีโลก” รวยขึ้น 2 เท่า ครองความมั่งคั่ง 43% สวน 5 พันล้านคน ทั่วโลก “จนลง”

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ธุรกิจผูกขาด ดัน “มหาเศรษฐีโลก” รวยขึ้น 2 เท่า ครองความมั่งคั่ง 43% สวน 5 พันล้านคน ทั่วโลก “จนลง”

Date Time: 17 ม.ค. 2567 12:18 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • Oxfam เผย สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน
  • 5 อภิมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก มั่งคั่งเพิ่มขึ้น 2 เท่า ตั้งแต่โควิด-19 สวนทาง 5 พันล้านคนทั่วโลก “จนลง” รายได้โตไม่ทัน “เงินเฟ้อ”

Latest


Oxfam องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งบรรเทาปัญหาความยากจนให้หมดไป เปิดเผย รายงาน inequality inc. ซึ่งรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน พบว่า 5 อภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 2 เท่า ตั้งแต่ มี.ค. 2564 - พ.ย. 2566 โดย มีมูลค่าความมั่งคั่งสุทธิ เพิ่มขึ้นเป็น 8.69 แสนล้านดอลลาร์ จาก 4.05 แสนล้านดอลลาร์ และสามารถทำเงินได้มากถึง 14 ล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมง

โดย 5 อภิมหาเศรษฐีที่ว่านี้ ได้แก่
Elon Musk CEO Tesla
Bernard Arnault และครอบครัว เจ้าของอาณาจักรแบรนด์หรู LVMH
Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon
Larry Ellison ผู้ก่อตั้ง Oracle
Warren Buffett นักลงทุนคุณค่าระดับตำนาน

ในขณะที่อภิมหาเศรษฐีเหล่านี้ รวยเพิ่มขึ้น 2 เท่า ตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ผู้คนจำนวนกว่า 5 พันล้านคนกลับยากจนลง และแรงงาน 791 ล้านทั่วโลก ค่าแรงเพิ่มขึ้นไม่ทันอัตราเงินเฟ้อ

ซึ่งหากแนวโน้มนี้ยังดำเนินต่อไป Oxfam ประเมินว่า โลกจะมีอภิมหาเศรษฐีความมั่งคั่งระดับล้านล้าน (Trillionaire) คนแรก ภายใน 10 ปีข้างหน้า ในขณะที่ความยากจนจะอยู่คู่กับโลกไปอีก 229 ปี

รายงานยังระบุเพิ่มเติมว่า 7 ใน 10 ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมหาเศรษฐีเป็น CEO หรือผู้ถือหุ้นหลัก โดยบริษัทเหล่านี้มีมูลค่า รวมกันกว่า 10.2 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับหรือมากกว่า GDP ของทุกประเทศในแอฟริกาและลาตินอเมริการวมกัน

โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 148 แห่ง มีกำไรสุทธิจนถึง มิ.ย. 2565 รวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับกำไรเฉลี่ยระหว่างปี 2561-2564

ทุกๆ การทำกำไร 100 ดอลลาร์ ของบริษัทใหญ่ จำนวน 96 แห่ง ระหว่าง ก.ค. 2565 - มิ.ย. 2566 เงิน 82 ดอลลาร์ จะถูกจ่ายเป็นผลตอบแทนให้กับเหล่าผู้ถือหุ้นที่ร่ำรวย ในรูปแบบของการซื้อคืนหุ้นและเงินปันผล

นอกจากนี้กลุ่มคน 1% ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ยังมีสัดส่วนการครอบครอง สินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลก มากถึง 43% โดยกลุ่มคน 1% ในตะวันออกกลาง ถือครองทรัพย์สินสุทธิ 48% ในภูมิภาค, เอเชีย ถือครองทรัพย์สินสุทธิ 50% และยุโรป ถือครองทรัพย์สินสุทธิ 47%

ข้อมูลจากรายงานสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ และเหล่ามหาเศรษฐีที่สร้างการเติบโตให้กันและกัน นับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 บริษัทขนาดใหญ่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากการควบรวม และผูกขาดธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งนำโดยบริษัทในกลุ่ม Big Tech ซึ่งผลกำไรมหาศาลนั้นส่วนใหญ่ ถูกจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับเหล่ามหาเศรษฐี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลักของที่มีอำนาจในการกำหนดทิศทางของบริษัท

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทเหล่านี้ไม่ได้มีอำนาจในการกำหนดกลไกราคาในตลาดเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลกลาง ทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนขยายตัวกว้างขึ้น

ที่มา : inequality inc.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ