เด็กจบใหม่ในจีนกำลังวิกฤติ ได้ “เงินเดือน” น้อยลง พิษเศรษฐกิจชะลอตัว

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เด็กจบใหม่ในจีนกำลังวิกฤติ ได้ “เงินเดือน” น้อยลง พิษเศรษฐกิจชะลอตัว

Date Time: 5 ม.ค. 2567 17:11 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • อัตราค่าจ้างพนักงานใหม่ ในเขตเมืองใหญ่ประเทศจีน ปรับตัวลดลงมากสุดในรอบ 7 ปี ผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลคุมเข้มภาคธุรกิจ ปราบคอร์รัปชัน

สำนักข่าวต่างประเทศ โดย Bloomberg รายงานว่า อัตราค่าจ้างของพนักงานจีนในเมืองใหญ่ ปรับตัวลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตอกย้ำแรงกดดันภาวะเงินฝืด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ถดถอย ท่ามกลางเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา

ข้อมูลจาก Zhaopin แพลตฟอร์มจัดหางานออนไลน์ระบุว่า ในไตรมาส 4/2566 เงินเดือนเฉลี่ยที่บริษัทเสนอให้กับพนักงานใหม่ใน 38 เมืองสำคัญของจีน ลดลง 1.3% มาอยู่ที่ 10,420 หยวน (51,000 บาท) จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นการปรับลดลงที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 


โดยเมืองหลวงของจีนอย่าง ปักกิ่ง ค่าจ้างลดลง 2.7% จากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ในเมืองกวางโจวซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ค่าจ้างลดลงลง 4.5%

ข้อมูลดังกล่าวเน้นย้ำถึงความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดที่เพิ่มขึ้น ที่จีนต้องเผชิญในปี 2567 ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าในปัจจุบัน

ความซบเซาของตลาดแรงงานจะผลักดันให้ประชาชนรัดเข็มขัดการใช้จ่ายมากขึ้น และกดดันให้ดัชนีราคาผู้บริโภคที่หดตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 3 ปี หดตัวขึ้นไปอีก

ค่าจ้างที่ลดลงจะยิ่งตอกย้ำความตกต่ำในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มีแนวโน้มจะฟื้นตัว ความไม่แน่นอนของรายได้ ในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก จะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยหดตัวลง เนื่องจากผู้คนชะลอการซื้อบ้าน และหลีกเลี่ยงการขอสินเชื่อ 

อย่างไรก็ตามในปี 2556 ที่ผ่านมา บริษัทจีนได้ปรับลดเงินเดือนลงในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี การเงิน รวมถึงปรับลดเงินเดือนข้าราชการระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลจีนยกระดับคุมเข้มการกำกับดูแลบริษัทใหญ่ในภาคเอกชน และสถาบันการเงิน เพื่อปราบปรามคอร์รัปชัน ลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้นโยบายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง


ทั้งนี้บริษัทส่วนใหญ่ในจีนยังต้องเผชิญแรงกดดันจากความต้องการสินค้าที่ลดลงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ.

อ้างอิง

อ่านข่าวต่างประเทศอื่นๆ กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์