ดัชนี S&P เดือน พ.ย.พุ่ง 8.9% ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รับนักลงทุนคาดเฟดลดดอกเบี้ยปีหน้า

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ดัชนี S&P เดือน พ.ย.พุ่ง 8.9% ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รับนักลงทุนคาดเฟดลดดอกเบี้ยปีหน้า

Date Time: 1 ธ.ค. 2566 14:57 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 8.9% ในเดือนพฤศจิกายน หลังข้อมูลเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ตลาดแรงงานชะลอตัวลง นักลงทุนคาดเฟดเริ่มลดดอกเบี้ยกลางปี 2567

Latest


 

ดัชนี S&P 500 ในเดือนพฤศจิกายน พุ่งขึ้น 8.9% ซึ่งเป็นการทำผลงานรายเดือนที่แข็งแกร่งที่สุดเป็นอันดับสองนับตั้งแต่ปี 2523 ตามหลังการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 เท่านั้น 


การฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลงซึ่งเร่งตัวขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ส่งสัญญาณยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ตลาดคาดว่าเฟดจะสามารถลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย(Soft landing)


ประกอบกับข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวลงของแรงกดดันด้านราคา และตลาดแรงงาน หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนกันยายนที่ปรับตัวขึ้น 3.4% 


ส่วนดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากระดับ 3.7% จากเดือนก่อน


ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) 


ในขณะที่อัตราว่างงาน เพิ่มขึ้น 3.9% ในเดือนตุลาคม ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 3.8% ในเดือนกันยายน


อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงทิศทางดอกเบี้ยของประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(FOMC) ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 12-13 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคมปี 2567

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ