ธนาคารกลางญี่ปุ่น ย้ำ ไม่ยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบ แม้เศรษฐกิจหดตัวมากกว่าคาด

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ธนาคารกลางญี่ปุ่น ย้ำ ไม่ยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบ แม้เศรษฐกิจหดตัวมากกว่าคาด

Date Time: 17 พ.ย. 2566 15:42 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่(BOJ) ย้ำ ยังไม่ยุติโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ(Ultra-loose Policy) เร็วๆ นี้ จนกว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน แม้เศรษฐกิจไตรมาส3 หดตัวกว่าคาด

คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น แถลงต่อรัฐสภาในวันนี้ (17 พ.ย.)ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการออกจาก นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultra-loose Policy) ก็ต่อเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการพิจารณาซื้อและถือครองกองทุนดัชนีรวมหุ้น (ETF) ด้วย


“เราจะพิจารณายุติการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนและอัตราดอกเบี้ยติดลบ หากเราสามารถคาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะคงที่และยั่งยืนตามเป้าหมาย 2% ของเรา” 


คาซูโอะ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณายุตินโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ จะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ ราคา และเงื่อนไขทางการเงินในขณะนั้น

สําหรับตอนนี้ BOJ จะต้องอดทนในการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ เนื่องจากยังไม่มั่นใจว่าญี่ปุ่นจะสามารถบรรลุอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน 


แม้เงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะค่อยๆ เร่งไปสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในปีงบประมาณ 2569 แต่สิ่งนี้ต้องมาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการอันเป็นผลมาจากการเติบโต ของค่าจ้าง 


ในช่วงที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้พยายามดำเนินนโยบายดอกเบี้ยติดลบ เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ หลังต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด มาอย่างยาวนานถึง 25 ปี แม้นโยบายดังกล่าวจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้  ราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ได้ส่งต่อต้นทุนไปยังผู้บริโภค ผลักดันให้เกิดการขึ้นค่าแรงทั้งรัฐบาลและภาคเอกชน

แต่ก็ยังไม่สามารถฟื้นอุปสงค์การใช้จ่ายภายในประเทศได้ เนื่องจากคนญี่ปุ่นมีแนวโน้มรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายและฝากเงินในธนาคารมากขึ้น

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ยังหดตัวที่ 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส และหดตัวมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะติดลบเพียง 0.6% 

ปัจจัยที่ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ มาจากการบริโภคและรายจ่ายการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลง ท่ามกลางการอ่อนค่าของเงินเยน และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจที่ซบเซา จะยิ่งเพิ่มความท้าทายให้กับ BOJ ในการพิจารณาออกจากนโยบายดอกเบี้ยติดลบ ที่เป็นดาบสองคมต่อระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์