จีนเสี่ยงภาวะ “เงินฝืด” หลังดัชนีผู้บริโภค หดตัวมากกว่าคาด

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

จีนเสี่ยงภาวะ “เงินฝืด” หลังดัชนีผู้บริโภค หดตัวมากกว่าคาด

Date Time: 9 พ.ย. 2566 16:17 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผย ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนตุลาคม
  • หดตัวลงมากกว่าคาดการณ์ โดยได้รับแรงกดดันจากราคาเนื้อหมูที่ลดลงกว่า 30% เพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเดือนตุลาคม พบว่า ปรับตัวลง 0.2%. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งปรับตัวลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ใน Reuters คาดการณ์ไว้ที่ 0.1% หลังจากการทรงตัวในเดือนกันยายน

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนสินค้าที่หน้าประตูโรงงานในเดือนตุลาคม ปรับตัวลง 2.6% ซึ่งลดลงมากกว่าในเดือนกันยายน ที่ระดับ 2.5% ถือเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 

สาเหตุของดัชนีที่ปรับตัวลดลงนั้น เป็นการสะท้อนราคาเนื้อหมูที่ลดลง 30% จากสต๊อกเนื้อหมูล้นตลาด หลังวิกฤตการณ์โควิด ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งการบริโภคในเดือนตุลาคม 


นอกจากนี้ ภาพรวมการบริโภคในประเทศที่ลดลง อาจส่งผลกระทบต่อมหกรรมช็อปปิ้งวันคนโสดในจีน ซึ่งเป็นเทศกาลช็อปปิ้งออนไลน์ครั้งใหญ่ที่สุดของปี ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 11 พ.ย.นี้ สอดคล้องกับผลสํารวจผู้ซื้อชาวจีน จำนวน 3,000 ราย โดย Bain & Co. ที่ระบุว่า คนจีนกว่า 77% เลือกที่จะใช้จ่ายน้อยลงในปีนี้ 


ทั้งนี้ การที่ดัชนี CPI และ PPI หดตัวลงพร้อมกันในเดือนตุลาคม ได้เพิ่มความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนว่าอาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอีกครั้ง

เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของจีนกลับอยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางเศรษฐกิจขาลง ที่ธนาคารกลางทั่วโลกต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ


ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศกดดัน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อ่อนแอลง และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่ลดลงจากระดับสูงสุดในปีที่แล้ว กดดันให้การส่งออกลดลง.

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์