เฟดคงดอกเบี้ย 5.25%-5.50% ตามตลาดคาด หวั่นผลกระทบบอนด์ยีลด์ กดดันเศรษฐกิจ

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เฟดคงดอกเบี้ย 5.25%-5.50% ตามตลาดคาด หวั่นผลกระทบบอนด์ยีลด์ กดดันเศรษฐกิจ

Date Time: 2 พ.ย. 2566 14:36 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25%-5.50% เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน หวั่นบอนด์ยีลด์พุ่ง กดดันภาคครัวเรือน และธุรกิจ ส่งสัญญาณยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น

เมื่อวันพุธที่ 1 พ.ย. 66 (ตามเวลาสหรัฐฯ) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25%-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี นับเป็นการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันครั้งที่ 2 ในปีนี้ หลังจากทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 11 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

แม้ Fed จะดำเนินนโยบายการเงิน ขึ้นดอกเบี้ยอย่างเข้มข้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถควบคุมเงินให้กลับมาอยู่ที่ระดับเป้าหมาย 2% ได้ 

ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 3/2566 จะขยายตัวที่ 4.9% ซึ่งเป็นการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคที่ฟื้นตัว และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงเล็กน้อยที่ 3.7%

แต่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ได้กดดันต้นทุนการกู้ยืม สำหรับภาคครัวเรือน และธุรกิจให้สูงขึ้นตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง


“สภาวะทางการเงินตึงตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวที่สูงขึ้น ท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ” เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed กล่าว

อย่างไรก็ตาม Fed มองว่าการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้เห็นภาพรวมผลกระทบของดอกเบี้ย และจะสามารถประเมินได้แม่นยำมากขึ้นว่าควรพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยอีกเท่าไร โดยจะให้ความสำคัญกับข้อมูลการจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ รวมถึงติดตามผลกระทบจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส

สำหรับกำหนดการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟด ประจำปี 2566 ในครั้งต่อไป เหลืออีกเพียง 1 ครั้ง ก่อนสิ้นปี คือวันที่ 12-13 ธ.ค. 2566.

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์