สงครามอิสราเอล ดันราคาน้ำมัน ทองพุ่ง หวั่นกดดันดอกเบี้ยสูงยาวนาน

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สงครามอิสราเอล ดันราคาน้ำมัน ทองพุ่ง หวั่นกดดันดอกเบี้ยสูงยาวนาน

Date Time: 9 ต.ค. 2566 14:00 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • การเปิดฉากสงครามอิสราเอล-ฮามาส เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันโลกขาดแคลน กดดันให้ราคาน้ำมัน ทองคำ พุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์

ราคาน้ำมัน ดีดตัวกลับไปสู่ระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากที่กลุ่มฮามาส กองกำลังติดอาวุธของปาเลสไตน์เปิดฉากโจมตีอิสราเอลบริเวณฉนวนกาซา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันขาดตลาด ผลักดันราคาทองคำและเงินดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น


โดยราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent ปรับตัวขึ้นมากกว่า 5% มาอยู่ 86 ดอลลาร์ และ 89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบลดลงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม เนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ตึงตัวทั่วโลก


ผลกระทบต่อตลาดน้ำมัน มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นหากสงครามระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยผู้ค้าน้ำมันต่างจับตามองไปที่ความเคลื่อนไหวของอิหร่าน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่และผู้สนับสนุนกลุ่มฮามาส

นอกจากราคาน้ำมัน และราคาทองที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว ความไม่แน่นอนของสงครามครั้งนี้ ยังผลักดันให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ อย่างยูโรและปอนด์ เงินเยนยังคงเป็นแหล่งพักเงิน และช่องทางเก็งกำไรสำหรับนักลงทุน และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ตลาดฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐขาดทุนเพิ่มขึ้น


ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วโลกให้สูงขึ้น ท่ามกลางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ยังคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง

กิลเลอร์โม ซานโตส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ ธนาคาร iCapital กล่าวว่า

“หากมีการขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมัน จากประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพิ่มเติม โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบมีแพงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อภาวะเงินเฟ้อในชาติตะวันตก และอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดการณ์” 

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์