แชมป์ส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ 2 ปีติด WIPO เผยดัชนีนวัตกรรมโลกปีนี้

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

แชมป์ส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ 2 ปีติด WIPO เผยดัชนีนวัตกรรมโลกปีนี้

Date Time: 7 ต.ค. 2566 06:45 น.

Latest

“มะพร้าวเวียดนาม” มาแรง จ่อชิงส่วนแบ่งตลาดของไทยในจีน หลังจีนเตรียมนำเข้าอย่างเป็นทางการ

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ประกาศผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลกประจำปี 2566 (Global Innovation Index 2023: GII 2023) ที่สะท้อนขีดความสามารถด้านนวัตกรรมในด้านต่างๆ ซึ่งในภาพรวมไทยอยู่อันดับ 43 จาก 132 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจทั่วโลก และอันดับ 5 ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง รองจากจีน มาเลเซีย บัลแกเรีย และตุรเคีย โดย 2 ตัวชี้วัดที่ไทยครองอันดับ 1 ได้แก่ การส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ และการลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนา โดยภาคธุรกิจ แสดงให้เห็นว่า ไทยนำนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการในระดับสูง และตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาต่อยอดให้กับภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ไทยยังมีตัวชี้วัดที่น่าสนใจอีกหลายด้าน เช่น จำนวนคำขออนุสิทธิบัตรที่ยื่นโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในไทยสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก จากอันดับ 8 ในปี 65, การใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา สูงเป็นอันดับ 16 คงที่, จำนวนคำขอสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยื่นโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในไทย อันดับ 32 จากอันดับ 34, จำนวนคำขอสิทธิบัตรผ่านระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองในต่างประเทศ อันดับ 57 จากอันดับ 62, รายได้เกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา อันดับ 61 จาก 64, จำนวนคำขอสิทธิบัตรที่ยื่นโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในไทยเป็นอันดับ 71 จากอันดับ 73 เป็นต้น

“ผลจากตัวชี้วัด GII ด้านทรัพย์สินทางปัญญา สะท้อนว่า ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของกรมได้พัฒนาบริการออนไลน์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนและรับคำปรึกษาได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ในยุคดิจิทัล”

ด้านนางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก กล่าวว่า จุดแข็งของไทยที่ได้รับคะแนนสูงอยู่ที่ตัวชี้วัดในหมวดการให้สินเชื่อ หมวดค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับพนักงาน หมวดการใช้จ่ายด้านทรัพย์สินทางปัญญา หมวดการนำเข้าบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) หมวดคนเก่งที่มีพรสวรรค์ด้านการวิจัย หมวดการจัดทำโมเดลการใช้งาน หมวดการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง หมวดการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ ขณะที่จุดอ่อนอยู่ในหมวดสภาพแวดล้อมทางกฎระเบียบ หมวดต้นทุนจากการเลิกจ้างงาน หมวดค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หมวดอัตราส่วนนักเรียน-ครูในโรงเรียนประถม หมวดนักลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของบริษัทระดับโลก หมวดการนำเข้าบริการด้านไอซีที หมวดภาพยนตร์เรื่องยาว เป็นต้น.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ