จับตาสหรัฐฯ หลังรายงาน CPI ต่ำกว่าคาด สัญญาณเงินเฟ้ออ่อนตัว แต่คนอเมริกันยังหนี้พุ่ง

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

จับตาสหรัฐฯ หลังรายงาน CPI ต่ำกว่าคาด สัญญาณเงินเฟ้ออ่อนตัว แต่คนอเมริกันยังหนี้พุ่ง

Date Time: 11 ส.ค. 2566 17:09 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคม พบปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 3.3% สะท้อนสัญญาณผลกระทบของเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจที่เริ่มอ่อนตัวลง แต่ผลกระทบในเศรษฐกิจฐานรากยังรุนแรง สะท้อนจากหนี้สินที่เพิ่มขึ้นในภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก

สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคม พบปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 3.3% และเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งอยู่ที่ 3.0% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี 4.7% และเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ สะท้อนสัญญาณผลกระทบของเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจที่เริ่มอ่อนตัวลง

ถึงแม้ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังสูงกว่ากรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ระดับ 2% ผลดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์เสียงแตกเป็นสองฝั่งว่า Fed จะยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นในปีนี้หรือไม่ และการรายงานตัวเลขครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ชุดข้อมูลสำคัญที่ Fed จะใช้ในการตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการเงินครั้งหน้า โดยจะต้องรอพิจารณาข้อมูลตัวเลขเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ที่เกิดขึ้นในวันที่ 19-20 กันยายนนี้

อย่างไรก็ตาม ในเศรษฐกิจภาพใหญ่เงินเฟ้อยังไม่ได้ส่งผลกระทบมาก เท่ากับเศรษฐกิจฐานราก จะเห็นได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีแรกที่เติบโตมากกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 2% ในไตรมาสแรก และระดับ 2.4% ในไตรมาสที่สองสอดคล้องกับตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง แม้ความร้อนแรงในการจ้างงานจะน้อยลง และอัตราการว่างงานที่เข้าใกล้จุดต่ำสุดในปี 2512 โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา ได้คาดการณ์ GDP ไตรมาสที่สาม ไว้ที่ 4.1%

ในขณะที่เศรษฐกิจฐานราก ได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคครัวเรือน และธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องพึ่งพาการกู้เงินจากบัตรเครดิต และสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนจากข้อมูลรายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก ที่เปิดเผยว่า หนี้บัตรเครดิตของคนอเมริกันในไตรมาส 2/66 พุ่งขึ้น 4.6% ทำให้ระดับหนี้โดยรวมแตะระดับ 1.03 ล้านล้านดอลลาร์ (36 ล้านล้านบาท) เป็นครั้งแรก รวมถึงอัตราการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ลดลง 27% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยกู้จำนองที่ปรับตัวสูงขึ้น 

อ้างอิง

ติดตามข่าวสารอัปเดต เศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในประเทศ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ล่าสุด ได้ที่นี่

ข่าวเศรษฐกิจ :https://www.thairath.co.th/money/economics 
เศรษฐกิจในประเทศ :https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ
เศรษฐกิจโลก :https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์