จีนเสี่ยงภาวะเงินฝืด CPI ต่ำสุดในรอบ 2 ปี

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

จีนเสี่ยงภาวะเงินฝืด CPI ต่ำสุดในรอบ 2 ปี

Date Time: 9 ส.ค. 2566 14:28 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคม 2566 ปรับตัวลดลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ตอกย้ำสัญญาณความเสี่ยงภาวะเงินฝืด

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (8 สิงหาคม) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนกรกฎาคม 2566 ปรับตัวลดลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ปรับตัวลงต่ำกว่าที่นักเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์ คาดไว้ที่ 0.4% 

ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 โดยลดลง 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งปรับตัวลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 4.1%

ส่งผลให้หุ้นในเอเชียอยู่ในแนวรับ โดยดัชนีหุ้นจีน bluechip CSI300(.CSI300) และ Shanghai Composite Index (.SSEC) ต่างก็ปรับตัวลงหลังมีการรายงานตัวเลขดังกล่าว

แม้ตัวเลข CPI และ PPI จะลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านอุปสงค์ในประเทศ และเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอลง ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจจีนได้เข้าสู่ภาวะเงินฝืดแล้ว แต่ทางการจีนนั้นกลับไม่ค่อยแสดงกังวลถึงความเสี่ยงภาวะเงินฝืดมากนัก 

รวมถึง หลิว โกวเฉียง รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีน กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า จีนยังไม่มีความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดในช่วงครึ่งปีหลัง แต่เศรษฐกิจจีนยังต้องใช้เวลาในการกลับสู่ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาดโควิด-19

อย่างไรก็ตาม NBS คาดว่า CPI จะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว และความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานดีขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังได้ปรับขึ้นอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายเป็น 3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกรอบ 2% ในปีที่แล้ว

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์