ไทยกระทบแค่ไหน เมื่อจีนปลูกทุเรียน และพร้อมขายในประเทศเดือนหน้า

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยกระทบแค่ไหน เมื่อจีนปลูกทุเรียน และพร้อมขายในประเทศเดือนหน้า

Date Time: 24 พ.ค. 2566 19:27 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • จีนเตรียมนำทุเรียนปลูกเองในมณฑลไห่หนาน ออกจำหน่ายในประเทศครั้งแรกเดือนมิถุนายน
  • หลังจากทดลองเพาะปลูกมากว่า 4 ปี นักวิเคราะห์เผยในอนาคตหากจีนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่มีอยู่ได้ จะสั่นคลอนสถานะเจ้าตลาดผลไม้ในประเทศอาเซียน

จีนถือเป็นประเทศที่นำเข้าทุเรียนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปีที่แล้วมีการนำเข้าทุเรียนมากกว่า 824,000 ตัน ซึ่งมีมูลค่าถึง 4.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.3 แสนล้านบาท มากกว่าในปี 2560 ประมาณสี่เท่า


South China Morning Post รายงานว่า ทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนานเขตร้อนทางตอนใต้ของจีน 

จำนวน 2,450 ตัน พร้อมเริ่มนำออกจำหน่ายแล้วในเดือนมิถุนายน หลังจากทดลองเพาะปลูกมากว่า 4 ปี


นาย Du Baizhong ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Hainan Youqi Agricultural ซึ่งเป็นฐานเพาะปลูกทุเรียนขนาดใหญ่แห่งแรกของมณฑลไห่หนาน เปิดเผยว่า เขาคาดว่าจะสามารถผลิตทุเรียนได้มากถึง 50 ตันในปีนี้ หลังจากส่งคนงานไปเรียนรู้การปลุกทุเรียน ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน เพื่อศึกษาการเร่งวงจรการเจริญเติบโตทุเรียนจาก 10 ปี เป็น 3 ปี นอกจากนี้บริษัทยังได้ค้นพบวิธีการแจกจ่ายน้ำ การจัดการปุ๋ย และการติดตามสภาพอากาศแบบอัตโนมัติอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าการปลูกทุเรียนในไห่หนานยังมีข้อจำกัด เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกนั้น ต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่เป็นพิเศษมากกว่าทุเรียนที่ปลูกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


นาย Sam Sin ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาของ S&F Produce Group กล่าวว่า คุณภาพทุเรียนของจีนยังไม่สามารถเทียบได้กับทุเรียนที่ปลุกในประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทุเรียนมากนัก


ด้าน นาย Lim Chin Khee ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกทุเรียนจากประเทศมาเลเซีย มองว่าจีนจะยังไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตผลไม้เขตร้อนจำนวนมากได้ทันที เนื่องจากผู้ปลูกทุเรียน

ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ยังต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ในเกาะ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าไต้หวัน ประกอบกับปัญหาพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร 


แม้ตอนนี้ทุเรียนจีนอาจจะยังไม่สามารถแทนที่ทุเรียนที่ปลูกในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยได้

แต่ตอนนี้ฟาร์มทุเรียนในจีนเริ่มมีการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิต ทำให้ทุเรียนมีราคาถูก นักวิเคราะห์มองว่าในอนาคตหากจีนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่มีอยู่ได้ จะทำให้ประเทศอาเซียนซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าตลาดผลไม้ถูกสั่นคลอน


โดยการที่จีนเริ่มเพาะปลูกทุเรียนเป็นของตัวเองได้ส่งผลกระทบต่อสวนทุเรียนของมาเลเซียที่ปลูกในพื้นที่ มณฑลไห่หนานซึ่งมีขนาดเล็ก ทำให้มาเลเซียเสียเปรียบในการแข่งขันกับจีนในด้านปริมาณผลผลิตทุเรียน

ในขณะ Adam McCarty หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Mekong Economics ในฮานอย แสดงความกังวลต่อผลไม้จากจีน เช่น ส้มและแอปเปิลที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามาในตลาดเวียดนาม 

โดยผลไม้พวกนี้มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน 

แม้เวียดนามจะปลูกผลไม้เพื่อการบริโภคในประเทศ แต่การขาดการประสานงานจากรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมการส่งออก จะทำให้ผลไม้จากจีนที่มีราคาถูกกว่าเข้ามาครองตลาดผลไม้ในประเทศ


สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการเพาะปลูกผลไม้ในประเทศ โดย

สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศประจำฮ่องกง ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรและผู้ค้าผลไม้อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการขายผลไม้ไทย 


ในปีที่แล้วประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกทุเรียนไปขายในจีน มูลค่ากว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 96.2% ของการส่งออกทั้งหมด โดยรัฐบาลไทยมีความเชื่อมั่นในระดับสูงว่าการส่งออกทุเรียน มังคุด ลำไย มะม่วง และมะพร้าวทั่วโลก อาจมีมูลค่ามากกว่า 5.83 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์