มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ทำไมอัตราเงินเฟ้อถึงส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐ

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ทำไมอัตราเงินเฟ้อถึงส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐ

Date Time: 19 เม.ย. 2566 18:50 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • จับตา Value of $1 มูลค่าที่ลดลงของดอลลาร์ตั้งแต่ปี 1972-2022 อัตราเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ได้อย่างไร?

จากข้อมูลระบุว่าตั้งแต่ ปี 1972 หรือในระยะเวลา 50 ปี สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 86% หรือ กว่า 6 เท่า กล่าวคือขณะนั้น 1 ดอลลาร์มีมูลค่าเริ่มต้นเท่ากับ 1 ดอลลาร์ แต่ปัจจุบันมูลค่าที่แท้จริงของ 1 ดอลลาร์ลดลงมาเท่ากับ 0.14 ดอลลาร์ และจะลดลงมาที่ 0.13 ดอลลาร์ในปีนี้

ซึ่งตามกลไกแล้ว "มูลค่าที่แท้จริง" ของเงิน 1 ดอลลาร์จะลดลงตามกาลเวลาสอดคล้องไปกับอัตราเงินเฟ้อ หากเราซื้อสินค้าหนึ่งอย่างในราคา 1 ดอลลาร์ในปี 1972 ผ่านมา 50 ปี เราจะสินค้าชิ้นเดียวกันนี้ได้ในราคา 7 ดอลลาร์ในปี 2022 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.22 ดอลลาร์ในปีนี้ ($1 in 1972 และ $7.22 in 2023) ในส่วน CPI หรือดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ในปี 1972 อยู่ที่ 41.80 และในปีนี้อยู่ที่ 301.84 พูดง่ายๆ ว่า ในจำนวนเงินเท่าเดิมเราจะซื้อสินค้าได้ปริมาตรที่น้อยลงกว่าที่เคยซื้อนั่นเอง

แล้วอัตราเงินเฟ้อเกี่ยวข้องกับมูลค่าเงินดอลลาร์ได้อย่างไร?

ตั้งแต่ปี 1972 เป็นต้นมา อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยผลลัพธ์ที่ตามมาหลังจากนั้นคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน กำลังซื้อของเงินดอลลาร์ก็ปรับตัวลดลงตาม โดย Inflation Rate ในปี 2022 แตะ 8% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1981 และมีการคาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลงมา 3.14% ในปีนี้

รัฐบาลจัดการด้วยการพิมพ์เงินเพิ่มต่อเนื่องเพื่อจัดการกับการขาดดุลของกำลังซื้อในระบบ แม้กลไกดังกล่าวอาจถือเป็นการด้อยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแต่หากกล่าวถึงเสถียรภาพดอลลาร์สหรัฐนั้นอาจไม่ได้ลดทอนมูลค่าอย่างรวดเร็วในคืนวัน 

สกุลเงินดอลลาร์จะยังเป็นสกุลเงินหลักในกระเป๋าเงินทุนสำรองของแต่ละประเทศในโลก และปัจจุบันสกุลเงินดอลลาร์ยังกินสัดส่วนอยู่กว่า 60% รองลงมาคือ ยูโร เยน ปอนด์สเตอร์ลิง ตามลำดับ 

แต่กระนั้นนโยบายการเงินการคลังที่ประกาศออกมาเพื่อจัดการกับวิกฤติอัตราเงินเฟ้อ บวกกับสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจ จีนและสหรัฐฯ ที่สร้างความตึงเครียดของการเมืองโลกหลังโควิด-19 คอนเซปต์เรื่อง “De-Dollarization” หรือการที่ค่าเงินดอลลาร์ถูกสั่นคลอนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา จากมุมมองดังกล่าวอาจทำให้หลายคนนึกถึงคำพูดของนายเรย์ ดาลิโอที่ว่า “การถือสกุลเงินดอลลาร์มีความเสี่ยง” ขึ้นมาเลยก็ว่าได้

ล่าสุด เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยถึงยอดขาดดุลงบประมาณอยู่ท่ี 2.62 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 21% จาก 2.17 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้หลายฝ่ายจับตาการรักษา Balance sheet ของสหรัฐฯ ตลอดจนความไม่สมดุลของงบประมาณซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นกว่าในอดีต แถมยังลุ้นกันว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของไบเดนจะผิดนัดชำระหนี้ที่กำลังจะถึงกำหนดหรือไม่ด้วยเช่นกัน

อ้างอิง Finbold, OfficialData 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์