เศรษฐกิจโลกเข้าสู่จุดอ่อนแอสุดในรอบ 30 ปี IMF เตือนผู้นำประเทศ เลี่ยงความขัดแย้งซ้ำเติมวิกฤต

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่จุดอ่อนแอสุดในรอบ 30 ปี IMF เตือนผู้นำประเทศ เลี่ยงความขัดแย้งซ้ำเติมวิกฤต

Date Time: 7 เม.ย. 2566 15:13 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • IMF เผย อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่กำลังเข้าสู่จุดอ่อนแอที่สุดในรอบ 30 ปี แนะผู้นำประเทศทั่วโลกควรวางแผนเพิ่มกำลังการผลิต และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางเศรษฐกิจจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์

คริสทาลินา จอร์เจียนา (Kristalina Georgieva) กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund:IMF) กล่าวในการปราศรัย ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (6 เม.ย) ถึงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่กำลังเข้าสู่จุดอ่อนแอที่สุดในรอบ 30 ปี

พร้อมระบุ การรุกรานยูเครนของรัสเซียทำให้ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วระหว่างสหรัฐฯ และจีนเลวร้ายลง ซ้ำเติมวิกฤตเงินเฟ้อ และกระตุ้นความอดอยากทั่วโลก แนะผู้นำประเทศทั่วโลกควรวางแผนเพิ่มกำลังการผลิต และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางเศรษฐกิจจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์

ปี 66 GDP ทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ที่ 2.9% ชะลอตัวลงจาก 3.4% ซึ่งสูงกว่าเล็กน้อยที่ 2.7% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม เนื่องจากสงครามและนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 3% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3.8% ที่คาดการณ์ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา นับเป็นการคาดการณ์ที่อ่อนแอที่สุดสำหรับการเติบโตระยะกลางนับตั้งแต่ปี 2533

นอกจากนี้ยังเตือนถึงการกระจายตัวทางการค้าในระยะยาว รวมถึงการจำกัดการย้ายถิ่นฐาน การเคลื่อนย้ายเงินทุน และการหยุดชะงักของการค้าเทคโนโลยีที่อาจทำให้สูญเสีย GDP มากถึง 12% สำหรับบางประเทศ โดย 90% ของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีอัตราการเติบโตที่ช้าลงอีกในปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์สำหรับการส่งออกลดลง ประเทศที่มีรายได้ต่ำอาจต้องหยุดชะงัก อย่างไรก็ตาม ตลาดเกิดใหม่บางแห่งมีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อินเดีย และจีน จะมีการเติบโตที่แข็งแกร่งเป็นครึ่งหนึ่งของการขยายตัวเศรษฐกิจโลก

จอร์เจียนา เรียกร้องให้นานาประเทศ ปฏิบัติอย่างจริงจังเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน และเรียกร้องให้สมาชิก IMF ช่วยบรรเทาหนี้ให้กับประเทศยากจน

สำหรับไตรมาสต่อๆ ไป มีความเป็นไปได้ว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มย่ำแย่ เธอสนับสนุนให้ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงไว้เพื่อเอาชนะอัตราเงินเฟ้อ เพราะเป็นรากฐานสำคัญของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในระยะกลางให้ดีขึ้น แต่หากความวุ่นวายเลวร้ายลง เธอยอมรับว่าหน่วยงานการเงินอาจต้องยกเลิกท่าทีดังกล่าวและลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ยังมีความกังวลเรื่องระบบธนาคารที่ยังไม่มั่นคง ผู้กำหนดนโยบายอาจต้องเผชิญกับการแลกเปลี่ยนที่ซับซ้อนมากขึ้นระหว่างอัตราเงินเฟ้อและการปกป้องระบบการเงิน จอร์เจียนา กล่าว

อ้างอิง Bloomberg , Financial Times 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ