รัฐอุ้มไมโครเอสเอ็มอี! ธปท.ระบุความเชื่อมั่นเอกชนลดต่อเนื่อง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

รัฐอุ้มไมโครเอสเอ็มอี! ธปท.ระบุความเชื่อมั่นเอกชนลดต่อเนื่อง

Date Time: 4 พ.ค. 2560 06:01 น.

Summary

  • “สมคิด” นั่งหัวโต๊ะประชุม หามาตรการอุ้มไมโครเอสเอ็มอี พากิจการให้รอดปลอดภัยผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ด้าน “ธปท.” ชี้ความเชื่อมั่นเอกชนยังลดต่อ ยอดซื้อในประเทศยังตกต่ำ ไม่มั่นใจความแน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ...

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

“สมคิด” นั่งหัวโต๊ะประชุม หามาตรการอุ้มไมโครเอสเอ็มอี พากิจการให้รอดปลอดภัยผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ด้าน “ธปท.” ชี้ความเชื่อมั่นเอกชนยังลดต่อ ยอดซื้อในประเทศยังตกต่ำ ไม่มั่นใจความแน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่มอง 3 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นได้บ้าง

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดเล็กมาก (ไมโครเอสเอ็มอี) ที่มีแรงงานไม่เกิน 5 คนต่อกิจการ เช่น ร้านค้าห้องแถว แผงลอยธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยแรงงานเป็นหลัก ซึ่งเป็นเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนภาษีกับรัฐบาลในขณะนี้ คาดว่ามีจำนวนรวม 2.1 ล้านราย จากเอสเอ็มอีทั่วประเทศ 2.7 ล้านราย เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือที่มีอยู่ยังเข้าไม่ถึงระดับไมโครเอสเอ็มอี หรือระดับฐานราก โดยระยะแรกจะช่วยเหลือทั้งการเงิน โดยจะแบ่งงบประมาณพัฒนาเอสเอ็มอี วงเงินเดิม 38,000 ล้านบาทเข้ามาช่วยเหลือที่จะปรับหลักเกณฑ์เพื่อให้ไมโครเอสเอ็มอีสามารถเข้าใช้สินเชื่อนี้ได้ รวมทั้งการช่วยเหลือด้านการตลาด การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้วยถือเป็นมาตรการดูแลครั้งใหญ่ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอีกครั้ง โดยจะคิดดอกเบี้ยจากเอสเอ็มอีกลุ่มนี้ในอัตราที่ต่ำเป็นพิเศษ

“มาตรการดังกล่าวจะหารือและกำหนดแนวทางชัดเจนนี้ในการประชุมคณะทำงานประชารัฐ คณะการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจเริ่มต้น (ดี 2) นัดแรกของปีนี้ ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ ที่มีตัวแทนภาคเอกชน คือ นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมเป็นประธาน โดยจะมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมติดตามความคืบหน้าการประชุมของคณะทำงานประชารัฐด้วย”

ทั้งนี้ การประชุมประชารัฐดี 2 จะมีการติดตามความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อจากกองทุนเอสเอ็มอี 20,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีหลายจังหวัดส่งแผนยุทธศาสตร์การสนับสนุนเอสเอ็มอี ประเภทผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา และวงเงินที่ต้องการมาที่กระทรวงอุตสาหกรรม คาดว่าจะสามารถปล่อยเงินก้อนแรกได้ภายในเดือน พ.ค.นี้ และเตรียมลงพื้นที่ 8 จังหวัดนำร่องที่ส่งแผนยุทธศาสตร์การขอสนับสนุนเงินกองทุน 20,000 ล้านบาทเข้ามาแล้ว คิดเป็นจำนวนเอสเอ็มอี 200 ราย ประกอบด้วย เชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม ชลบุรี อุดรธานี อุบลราชธานี กระบี่ สงขลา โดยกิจกรรมการลงพื้นที่ ตนจะเรียกประชุมร่วมกับคณะกรรมการจังหวัด และพบปะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในพื้นที่นอกจากนี้ ที่ประชุมประชารัฐดี 2 จะกำหนดกรอบการพัฒนาเอสเอ็มอีที่ชัดเจนให้ผลิตสินค้าที่ยึดโยงกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ประจำเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ความเชื่อมั่นยังปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น้อยลงจากวันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ โดยดัชนีของเดือน เม.ย.อยู่ที่ระดับ 49.6 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 52.6 ตามความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการในกลุ่มปิโตรเคมี เครื่องจักรและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงประเมินว่าภาวะทางธุรกิจจะดีขึ้นจากปัจจุบัน สะท้อนจากดัชนีที่อยู่ในระดับ 55.8 โดยภาคที่ความเชื่อมั่นดีขึ้นคือ ภาคที่มิใช่อุตสาหกรรม ในกลุ่มการขนส่ง กลุ่มกิจกรรมไปรษณีย์และโทรคมนาคม เป็นสำคัญ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ